การรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒของผู้ใช้บริการ: การศึกษานำร่อง

Perception of the Image of the Dental Hospital, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University, Among Service Users: A Pilot Study

Authors

  • เสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา *ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ **ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ศุภวิช อิศรางกูร ณ อยุธยา ***คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • กุลรดา รุจาธนนันท์ ****โรงพยาบาลคลองหาด 626 หมู่ 1 ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว 27260
  • ชนิภา อาชาประดิษฐ์กุล *****คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ภวรัญชน์ ณัฐคุณานนท์ ******โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว 283 ถ. สุวรรณศร อำเภอเมืองสระแก้ว สระแก้ว 27000
  • ฤกษ์บุษยา กุลศิริ *******โรงพยาบาลปากท่อ 201/10 หมู่ 8 ถ.ท้าวอู่ทอง ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140

Keywords:

ภาพลักษณ์, การรับรู้, โรงพยาบาลทันตกรรม, Image, Perception, Dental hospital

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกลุ่มผู้เข้ารับบริการทางทันตกรรม วัสดุและวิธีการ: ใช้การวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประเด็นการรับรู้และประสบการณืที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ในแต่ละด้านการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยข้อมูลที่ได้รับนำไปสรุปผลโดยใช้ความถี่และค่าเฉลี่ย ใช้การบรรยายเชิงพรรณาและสถิติทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ95 นอกจากนี้ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และจัดหมวดหมู่ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ผลการศึกษา: จากจำนวนประชากรที่ตอบแบบสอบถาม 116 คน เป็นเพศชาย 40 คน (34.71%) และ หญิง 76 คน (65.29%) ช่วงอายุที่มีความถี่สูงสุดคือ 25-59 ปี (49.14%) พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์โดยรวมของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ อยู่ในด้านบวก คือ จากการศึกษาเชิงปริมาณ มีความเห็นด้วยมากที่สุดในแต่ละด้าน ตามลำดับดังนี้ คือ ด้านชื่อเสียงของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ (ค่าเฉลี่ย 5.36) ด้านความสามารถของทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ (ค่าเฉลี่ย 5.52) ด้านการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ (ค่าเฉลี่ย 5.50) ด้านสภาพแวดล้อมทั่วไป (ค่าเฉลี่ย 5.25) และมีด้านการประชาสัมพันธ์ ที่มีความเห็นระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.84) เมื่อนำข้อมูลที่ได้รับจาก แบบสอบถามเชิงปริมาณมาทดสอบทางสถิติ ปัจจัยด้านอายุมีผลต่อภาพลักษณ์ ประเด็นด้านความสามารถของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ ด้านการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ และด้านสภาพแวดล้อมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) ไม่พบว่าปัจจัยด้านอายุความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ด้านชื่อเสียงของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ (p > 0.05) จากการศึกษาเชิงคุณภาพมีผู้ใช้บริการมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ ด้านชื่อเสียง และด้านความสามารถของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นที่พึงพอใจ อย่างไรก็ตามการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์ เป็นประเด็นที่ควรดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์มากยิ่งขึ้น ผลจากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในชื่อเสียงและความสามารถของทันตแพทย์ แต่ยังมีความต้องการให้ปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ ผู้ใช้บริการให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลให้มีความทันสมัยมากขึ้น สรุป: ในภาพรวมของการศึกษาครั้งนี้ พบว่าทางการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพมีผู้ใช้บริการมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มศว ในทางที่น่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตามการปรับปรุง ด้านสิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์เป็นประเด็นที่ควรดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ต่อภาพลักษณ์มากยิ่งขึ้น Abstract Objective: The aim of this study is to explore the perception of dental hospital image among dental service recipients at the Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University. Materials and Methods: This research employed a blend of quantitative and qualitative methodologies. Data were gathered through a questionnaire aimed at assessing perceived issues and experiences pertaining to various aspects of image. In addition, in-depth interviews and focus group discussions were conducted. The gathered data were summarized using frequency and mean for descriptive analysis, and statistical analysis was performed utilizing the chi-square test at a 95% confidence level. Additionally, content analysis was used by taking data from interviews and focus group discussions, and categorizing it to analyze key themes and issues. Results: The study included a total of 116 participants who completed the questionnaire, comprising 40 males (34.71%) and 76 females (65.29%). The most frequent age group among participants was between 25 and 59 years old, accounting for 49.14% of the total. Statistical analysis indicated that age had no significant impact on the perception of the dental hospital’s reputation (p > 0.05). However, age did significant relationship with the perception of certain image-related aspects, including the competence of dentists and dental assistants, as well as the overall quality of care provided by the staff and the general environment (p < 0.05). Based on the findings of the qualitative study, service users held specific perceptions of the dental hospital’s image. They generally regarded the reputation and abilities of both dentists and dental assistants as satisfactory. However, there is room for improvement in the areas of the hospital’s environment and its public relations. Addressing these aspects is essential to enhance overall satisfaction among service recipients with the hospital’s image. Results from the content analysis revealed that service users were satisfied with the reputation and competence of the dentists, but there were demands for improvements in the hospital’s environment and public relations. Service users suggested increasing publicity through online media channels and enhancing the hospital’s environment to be more modern. Conclusions: In the broader context of this study, the combined quantitative and qualitative analyses indicate that service users generally perceive the image of the Faculty of Dentistry, SWU as satisfactory. However, there is a clear need for further efforts to enhance the hospital’s environment and improve its public relations. Addressing these aspects is crucial for increasing overall satisfaction among service recipients and enhancing the institution’s image.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

เสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา, *ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

(First author)

สรสัณห์ รังสิยานนท์, **ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

(Corresponding author)

ศุภวิช อิศรางกูร ณ อยุธยา, ***คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

(Co-author)

กุลรดา รุจาธนนันท์, ****โรงพยาบาลคลองหาด 626 หมู่ 1 ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว 27260

(Co-author)

ชนิภา อาชาประดิษฐ์กุล, *****คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

(Co-author)

ภวรัญชน์ ณัฐคุณานนท์, ******โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว 283 ถ. สุวรรณศร อำเภอเมืองสระแก้ว สระแก้ว 27000

(Co-author)

ฤกษ์บุษยา กุลศิริ, *******โรงพยาบาลปากท่อ 201/10 หมู่ 8 ถ.ท้าวอู่ทอง ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140

(Co-author)

References

Royal Institute. Royal Institute Dictionary B.E. 2542. Bangkok: Royal Institute; 1999.

Laphirattanakul W. Public relations. 10thed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2003.

Kotler P. Marketing management: The millennium edition. 10thed. Upper Saddle River NJ: Prentice Hall; 2000.

Sriwiboon S. Identity design = Corporate identity. Bangkok: Core Function; 2004.

Orawongsupatat C. New corporate culture [Internet]. Bangkok: WRITER © 2024 Technology Promotion Association (Thailand-Japan); 2009 [cited 2020 Sep]. Available from: https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic. php?bookID=1464&read=true&count=true.

Aaker DA. Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: Free Press; 1991.

Keller KL. Conceptualizing, measuring, and managing customer-based brand equity. Journal of Marketing. 1993;57(1):1-22.

Keller KL. Impact of Perceived Product Value on Customer-Based Brand Equity. Front Psychol. 2022;13:931064. doi: 10.3389/fpsyg.2022.931064.

Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing. 1988;64(1):12-40.

Ladhari R. A review of twenty years of SERVQUAL research. International Journal of Quality and Service Sciences. 2009;1(2):172-98.

Sweeney JC, Soutar GN. Consumer perceived value: The development of a multiple item scale. Journal of Retailing. 2001;77(2):203-20.

Harris LC, Ezeh C. Servicescape and loyalty intentions: An empirical investigation. European Journal of Marketing. 2008;42(3-4):390-422.

Percy L. Strategic integrated marketing communications. Butterworth-Heinemann. 1sted. London: Routledge; 2008.

Kitchen PJ, Burgmann I. Integrated marketing communication. In The Sage Handbook of Advertising. Sage Publications; 2008. p28-46.

Suwan W. The image of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital (SiPH) in the perception of service users [Master’s Degree Thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2016.

Pattarakorn P. Image perception of public hospitals in Bangkok of service users [Master of Communication Arts thesis]. Bangkok: Dhurakij Pundit University; 2002.

Chaichuun N. The image of the Central Hospital in the perception of patients [Master’s Degree Thesis in Journalism (mass communication)]. Bangkok: Thammasat University; 2008.

Gliem JA, Gliem RR. Calculating, interpreting, and reporting Cronbach’s alpha reliability coefficient for Likert-type scales. 2003 Midwest Research to Practice Conference in Adult, Continuing, and Community Education; 2003.

Rubin HJ, Rubin IS. Qualitative interviewing: The art of hearing data. 2nded. Sage Publications; 2005.

Krueger RA, Casey MA. Focus groups: A practical guide for applied research. 3rded. Sage Publications; 2000.

Weiers MR. Introduction to business statistics. 5th ed. Pennsylvania: Brooks/Cole; 2005.

Boone HN, Boone DA. Analyzing Likert data. Journal of Extension. 2012;50(2). doi: 10.34068/joe.50.02.48.

raya-kongkha. Triangular Data Check [Internet]. Bangkok: GotoKnow; 2013 [cited 2021 March] . Available from: https://www.gotoknow.org/posts/400912.

Luo JYN, Liu PP, Wong MCM. Patients' satisfaction with dental care: a qualitative study to develop a satisfaction instrument. BMC Oral Health. 2018;18(1):15. doi: 10.1186/s12903-018-0477-7.

Santosa YA, Azam SMF. Effect of service quality and patient satisfaction: How dental hospitals in Indonesia deal with that? European Journal of Social Sciences Studies. 2019;4(5). doi: 10.5281/zenodo.3547671.

Sharkiya SH. Quality communication can improve patient-centred health outcomes among older patients: a rapid review. BMC Health Serv Res. 2023;23(1):886. doi: 10.1186/s12913-023-09869-8.

Lin W, Yin W. Impacts of service quality, brand image, and perceived value on outpatient’s loyalty to China’s private dental clinics with service satisfaction as a mediator.PLoS One. 2022;17(6):e0269233. doi: 10.1371/journal.pone.0269233.

Downloads

Published

2024-12-17

How to Cite

1.
สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา เ, รังสิยานนท์ ส, อิศรางกูร ณ อยุธยา ศ, รุจาธนนันท์ ก, อาชาประดิษฐ์กุล ช, ณัฐคุณานนท์ ภ, กุลศิริ ฤ. การรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒของผู้ใช้บริการ: การศึกษานำร่อง: Perception of the Image of the Dental Hospital, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University, Among Service Users: A Pilot Study . SWU Dent J. [Internet]. 2024 Dec. 17 [cited 2024 Dec. 21];17(2):28-45. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16491

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)

Categories