การตั้งตำรับและประเมินสารหล่อลื่นในช่องปากที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับงานทันตกรรมผู้สูงอายุ

Authors

  • วรายุทธ โชติประกายเกียรติ ภาควิชาชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • นุชวรา สารสิทธิ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ปภาวี เกิดวังหิน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ปรัชญา ยายอด คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • พันไมล์ เพชรประดับ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
  • ภัชรพล สำเนียง ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

Keywords:

สารหล่อลื่นในช่องปาก, สุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ, Oral lubricant, Oral health, Elderly

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อตั้งตำรับและประเมินคุณสมบัติของสารหล่อลื่นในช่องปากที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ตั้งตำรับสารหล่อลื่นจากน้ำปราศจากไอออน สารก่อเนื้อเจล และสารเพิ่มความชุ่มชื้น ประเมินคุณสมบัติโดยเปรียบเทียบค่าความหนืดจากเครื่องวัดความหนืดบรุคฟิลด์ชนิดโคนและแผ่นเรียบ ใช้สถิติ Kruskal-Wallis test และ Mann-Whitney U Test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนืดและความเข้มข้นของสารไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลในสารรูปเจลและเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพกับเควายเจลลี่ ผลการทดลอง: ค่าความหนืดของสารรูปเจลมีค่าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของสารก่อเนื้อเจล โดยที่สารรูปเจลสูตรที่ 3 (2.8% ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส) มีความหนืดมากที่สุด สารรูปเจลสูตรที่ 2 (2.7% ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส) มีความหนืดรองลงมาซึ่งมีค่าความหนืดใกล้เคียงกับเควายเจลลี่ (KY® jelly) และสารรูปเจลสูตรที่ 1 (2.6% ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส) มีความหนืดน้อยที่สุด โดยความหนืดของสารทุกสูตรที่ 25 องศาเซลเซียส มีค่ามากกว่าที่ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ค่าความหนืดของสารทุกสูตรมีแนวโน้มลดลงที่เวลา 1 เดือนและ 3 เดือน ภายหลังการผสม สรุป: สารรูปเจลสูตรที่ 2 มีโอกาสพัฒนาต่อเพื่อใช้สำหรับการทำหัตถการในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพและความหนืดใกล้เคียงกับสารหล่อลื่นเควายเจลลี่และคาดว่ามีความเหมาะสมในการใช้ในช่องปากมากที่สุด > ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 37-49. > SWU Dent J. 2023;16(1): 37-49.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-08

How to Cite

1.
โชติประกายเกียรติ ว, สารสิทธิ์ น, เกิดวังหิน ป, ยายอด ป, เพชรประดับ พ, สำเนียง ภ. การตั้งตำรับและประเมินสารหล่อลื่นในช่องปากที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับงานทันตกรรมผู้สูงอายุ. SWU Dent J. [Internet]. 2023 Mar. 8 [cited 2025 Jan. 2];16(1):37-49. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15104

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)