ผลของสารสกัดว่านหางจระเข้ต่อเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์

Authors

  • ณัฐพล โรจน์เพ็ญเพียร สาขาวิชาชีววิทยาaช่องปากและระบบการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
  • บรรเจิด ยะพงศ์ สาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
  • สุวรรณา จิตภักดีบดินทร์ สาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของสารสกัดว่านหางจระเข้ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและยับยั้งการเจริญการทำงานของเอนไซม์กลูโคซิลทรานสเฟอเรส การยับยั้งการสร้างกรด และการยึดเกาะของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสมิวแทนส์ ATCC 25175วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: สารสกัดว่านหางจระเข้แบบผงผสมน้ำนำมาทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อ (MBC) ของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ATCC 25175 ด้วยวิธีการไมโครบรอธไดลูชั่น หลังจากนั้นนำสารสกัดว่านหางจระเข้ที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญ และระดับต่ำกว่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้ง (1/2, 1/4 และ 1/8 ของสารสกัดว่านหางจระเข้) นำมาทดสอบการทำงานของเอนไซม์กลูโคซิลทรานสเฟอเรสโดยคำนวณปริมาณกลูแคนที่เกิดขึ้น การทดสอบการยับยั้งการสร้างกรดโดยวิธีการวัดค่าพีเอชในช่วงเวลา 0-150 นาที และการทดสอบการยึดเกาะของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ATCC 25175 โดยการย้อมคริสตัลไวโอเลตผลการทดลอง: ความเข้มข้นขั้นต่ำสุดในการยับยั้งของสารสกัดว่านหางจระเข้คือ 125 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรซึ่งแสดงผลการยับยั้งการเจริญเติบโตที่ 6-10 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง และไม่สามารถระบุความเข้มข้นสูงสุดของการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ที่ความเข้มข้นต่ำสุด ในการยับยั้งของสารสกัดว่านหางจระเข้ไม่แสดงผดงผลการยับยั้งต่อการทำงานของเอนไซมกลูโูคลซิลทรานสเฟอเรสนอกจากนี้ ความเข้มข้นขั้นต่ำสุดในการยับยั้งที่ 1/2, 1/4 และ 1/8 ของสารสกัดว่านหางจระเข้ไม่แสดงผลการยับยั้งการผลิตกรดของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ATCC 25175 อย่างไรก็ตาม สารสกัดว่านหางจระเข้ที่ความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งและระดับความเข้มข้นที่ต่ำกว่าความเข้มข้นขั้นต่ำสุดในการยับยั้ง สามารถยับยั้งการยึดเกาะเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ATCC 25175สรุป: สารสกัดว่านหางจระเข้ที่สกัดด้วยน้ำสามารถยับยั้งการยึดเกาะเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ATCC 25175 คำสำคัญ: ว่านหางจระเข้ การยึดเกาะของแบคทีเรีย โรคฟันผุ เชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ว.ทันต.มศว ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565 หน้า 10-23.SWU Dent J. 2021;15(2):10-23.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณัฐพล โรจน์เพ็ญเพียร, สาขาวิชาชีววิทยาaช่องปากและระบบการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

อ.ทพ.

บรรเจิด ยะพงศ์, สาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

-

สุวรรณา จิตภักดีบดินทร์, สาขาวิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เลขที่ 15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

รศ.ดร.ทพญ.

Downloads

Published

2022-07-01

How to Cite

1.
โรจน์เพ็ญเพียร ณ, ยะพงศ์ บ, จิตภักดีบดินทร์ ส. ผลของสารสกัดว่านหางจระเข้ต่อเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์. SWU Dent J. [Internet]. 2022 Jul. 1 [cited 2024 Nov. 19];15(2):10-23. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14469

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)