การแปลและการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือฉบับภาษาไทยในการประเมินภาวะปากแห้งเหตุนํ้าลายน้อย
Abstract
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อแปล ทดสอบความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นของเครื่องมือแบบสอบถามการประเมินภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยฉบับภาษาไทยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: แปลเครื่องมือประเมินภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย (xerostomia inventory)จากภาษาอังกฤษมาเป็นฉบับภาษาไทยด้วยกระบวนการแปลเครื่องมือข้ามวัฒนธรรมเทคนิคการแปลแบบย้อนกลับทำการตรวจสอบเครื่องมือ เพื่อหาค่าความเที่ยงตรงของโดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง ทำการทดสอบความความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ด้วยการนำแบบสอบถามไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับการได้รับยาในกลุ่มแคลเซียมแชนเน็ลบล็อคเกอร์ และทำการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นผลการศึกษา: การตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้ทรงคุณวุฒิของทุกข้อมีค่า 0.67-1 ทดสอบโดยการนำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน(อายุเฉลี่ย 70 ± 5.47 ปี) วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัครวมของแบบสอบถามทั้ง 11 ข้อ คือ 0.855 วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นด้วยการทดสอบซ้ำของทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.2สรุป: แบบสอบถามประเมินภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยฉบับภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น สามารถใช้ในการประเมินเบื้องต้นในผู้ป่วยภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อยในกลุ่มผู้สูงอายุได้คำสำคัญ: ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย การแปลข้ามวัฒนธรรม โรคความดันโลหิตสูง Translation, Validation and Reliability of a Thai Version ofthe Xerostomia InventoryKittayanan Kasa Paramet Worakajit Sitthichai Sinsen Patcharaphol Samnieng AbstractObjective: To translate and test of validation and reliability of the Thai version of the xerostomiainventory among Thai elderly.Materials and Method: Translate the xerostomia inventory from English to Thai versionwith cross-cultural, backward translation technique. The validation of the questionnaire was Indexof Item Objective Congruence (IOC) test. The reliability test of the questionnaire used Cronbach’salpha coefficient analysis, tested on a sample of hypertensive elderly aged ≥ 60 with receiving thecalcium channel blocker drug. After 2 weeks, each patient was asked to repeat the questionnaire.Intra-class Correlation Coefficient (ICC) was analyzed.Results: The IOC score of all items is 0.67-1. The questionnaire’s reliability test was conductedby applying the questionnaire to a sample of 30 people (3 males and 27 females) with an averageage of 70 ± 5.47 years. Cronbach’s alpha coefficient of the 11 questionnaires was 0.855. ICC scoreof all items was greater than 0.2.Conclusion: The Thai version of the xerostomia inventory is a tool with validation andreliability, which can be used for preliminary assessment in patients with xerostomia among theelderly.Keywords: Xerostomia, Cross-cultural translation, Hypertension ว.ทันต.มศว ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2565 หน้า 10-20. SWU Dent J. 2022;15(1):10-20.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-04-01
How to Cite
1.
กาสา ก, วรขจิต ป, สินเสน ส, สำเนียง ภ. การแปลและการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือฉบับภาษาไทยในการประเมินภาวะปากแห้งเหตุนํ้าลายน้อย. SWU Dent J. [Internet]. 2022 Apr. 1 [cited 2025 Jan. 22];15(1):10-2. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14306
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น