ผลของสารประกอบฟีนอลในสารสกัดสมุนไพร 8 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: ศึกษาผลของสารประกอบฟีนอลในสารสกัดสมุนไพร ขิง ข่า กะเพรา กระเทียม กระชายดำกานพลู ใบบัวบกและขมิ้น ต่อการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: สกัดสมุนไพรทั้ง 8 ชนิดและนำสารสกัดที่ได้มาหาปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมด้วยวิธีสารละลายโฟลินซิโอแคลธูที่ดัดแปลงและคำนวณจากกราฟมาตรฐานที่วัดค่าดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 760 นาโนเมตร และทำการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ของสารสกัดสมุนไพรที่มีสารประกอบฟีนอลด้วยวิธีดิสก์ดิฟฟิวชั่น และวัดความกว้างของบริเวณยับยั้งการเจริญของเชื้อที่เกิดขึ้นที่เวลา 48 ชั่วโมงและ 72 ชั่วโมงผลการทดลอง: ที่ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรกานพลูมีปริมาณสารประกอบฟีนอลมากที่สุดรองลงมาคือ ขมิ้น ขิง ข่า ใบบัวบก กระชายดำ กระเทียมและกะเพราตามลำดับ เมื่อทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อของสารสกัดสมุนไพรที่ความเข้มข้น 150 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร พบว่า สารสกัดสมุนไพรกานพลู มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์มากที่สุด รองลงมาคือ ขิง ข่า ใบบัวบก กระชายดำ กระเทียมกะเพรา ตามลำดับ และขมิ้นไม่พบฤทธิ์ในยับยั้งการเจริญของเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ทั้งที่ความเข้มข้น 150และ 300 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และพบว่าการทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรที่เวลา 48 ชั่วโมงจะมีบริเวณการยับยั้งเชื้อที่มากกว่าที่เวลา 72 ชั่วโมงสรุป: สารสกัดสมุนไพรที่มีสารประกอบฟีนอลเป็นองค์ประกอบมากมีแนวโน้มที่จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ได้สูงกว่า ยกเว้น ขมิ้น ดังนั้นชนิดของสารประกอบฟีนอลที่อยู่ในสมุนไพรมีผลต่อฤทธิ์ในการต้านเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ และระยะเวลาในการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อที่ดีที่สุดคือ 48 ชั่วโมงคำสำคัญ: กระชาย กระเทียม กะเพราดำ กานพลู ขมิ้น ข่า ขิง แคนดิดา อัลบิแคนส์ ใบบัวบก สารประกอบฟีนอล The Antimicrobial Activity of 8 Herbal Extracts ContainingPhenolic Compounds against Candida albicansParamaporn Chiewpattanakul Kaewmanee Napatsorn Nimphiboon Nut Chunnawong Thanaporn Tanaiatchawoot Thanyawan Phisutharporn Benyada TheerautthavateAbstractObjectives: To study the effects of phenolic compounds in herbal extracts of Ginger, Galangal,Basil, Garlic, Holy basil, Cloves, Centella leaves and Turmeric against Candida albicans.Materials and methods: Eight kinds of herbal extracts were obtained to determine thetotal phenolic compounds content by the modified Folin-Ciocalteu’s reagent method and calculatedfrom standard curves by measuring absorbance at a wavelength of 760 nm. The herabal extractscontaining phenolic compounds were testing for the antimicrobial activity against C.albicans by diskdiffusion method. The inhibitory zone was measured at 48 and 72 hours.Results: At a concentration of 0.1 mg/ml, Clove extract had the highest content of phenoliccompounds followed by Turmeric, Ginger, Galangal, Centella, Black Galingale, Garlic and Holy basil,respectively. At a concentration of 150 mg/ml, Clove extract had the most antimicrobial activityagainst C. albicans followed by Ginger, Galangal, Centella, Black galingale, Garlic and Holy Basil,respectively. However, both concentrations of Turmeric extract (150 and 300 mg/ml) were not foundto inhibit the growth of C. albicans. There was a greater inhibition zone at 48 than 72 hours.Conclusions: Herbal extracts with high phenol constituents tend to have higher potent ofinhibitory effects of C. albicans, exception of Turmeric. The phenolic compounds in the herb wereeffective against C. albicans, and the optimum inhibitory activity test was 48 hours.Keyword: Black galingale, Garlic, Holy Basil, Cloves, Turmeric, Ginger, Galangal, Candida albicans, Centella, Phenolic compounds ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564 หน้า 75-90.SWU Dent J. 2021;14(2):75-90.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-11-30
How to Cite
1.
จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณี ป, นิ่มพิบูลย์ น, ชุณวงษ์ ณ, ตนัยอัชฌาวุฒ ธ, พิศุทธ์อาภรณ์ ธ, ธีระอรรถเวช เ. ผลของสารประกอบฟีนอลในสารสกัดสมุนไพร 8 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์. SWU Dent J. [Internet]. 2021 Nov. 30 [cited 2024 Nov. 18];14(2):75-90. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13989
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น