ผลของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์และโพแทสเซียมไอโอไดด์ต่อค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาคของวัสดุเรซินคอมโพสิตและเนื้อฟัน
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์และโพแทสเซียมไอโอไดด์ที่มีต่อค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาคของวัสดุเรซินคอมโพสิตและเนื้อฟันทั้งในสารยึดติดระบบโททอลเอทช์และเซลฟ์เอทช์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมชิ้นทดสอบโดยใช้ฟันกรามน้อยแท้ในมนุษย์ 30 ซี่ ตัดแบ่งฟันได้ชิ้นทดสอบทั้งหมด 60 ชิ้น กรอผิวเคลือบฟันด้านใกล้แก้มหรือใกล้ลิ้นลึกประมาณ 3 มิลลิเมตร ขัดผิวฟันให้ได้ผิวเนื้อฟันเรียบ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น กลุ่มที่ 1 บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติด OptibondFL กลุ่มที่ 2 ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ก่อนทำการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติด Optibond FLกลุ่มที่ 3 ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์และโพแทสเซียมไอโอไดด์ก่อนทำการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติด Optibond FL กลุ่มที่ 4 บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติด Clearfil SE Bond กลุ่มที่ 5ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ก่อนทำการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติด Clearfil SE Bond กลุ่มที่ 6ทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์และโพแทสเซียมไอโอไดด์ก่อนทำการบูรณะด้วยเรซินคอมโพสิตร่วมกับสารยึดติดClearfil SE Bond นำฟันที่บูรณะแล้วไปแช่น้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นตัดชิ้นทดสอบเป็นแท่งขนาด 1 x 1 มิลลิเมตรแล้วนำไปทดสอบค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาคระหว่างกลุ่มร่วมกับการเปรียบเทียบพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05ผลการทดลอง: ผลการทดสอบพบว่าแต่ละกลุ่มมีค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาคไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีการแตกหักส่วนใหญ่ที่ระหว่างรอยต่อสรุป: จากการทดลองสรุปได้ว่าการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ร่วมกับโพแทสเซียมไอโอไดด์ก่อนการบูรณะฟันที่บริเวณเนื้อฟันมีค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาคไม่ต่างกับกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มที่ใช้เพียงซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ทั้งในสารยึดติดระบบโททอลเอทช์และระบบเซลฟ์เอทช์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคำสำคัญ: ค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาค ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ โพแทสเซียมไอโอไดด์สารยึดติดระบบโททอลเอทช์ สารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ The Effect of Silver Diamine Fluoride and Potassium Iodideon Microtensile Bond Strength of Resin Composite Restorationand DentinChosita Bannakiatkul Muratha PanichAbstractsObjective: The aim of this study was to compare the effect of silver diamine fluoride andpotassium iodide on the microtensile bond strength of resin composite restoration between totaletchand self-etch adhesive system.Materials and Methods: Specimens were prepared from 30 human premolars by sectioningthe teeth to obtain buccal and lingual halves in 60 pieces. Flat dentin surface was prepared andpolished then randomly divided specimens in 6 groups (n = 10): Group 1 Optibond FL, Group 2Optibond FL + SDF, Group 3 Optibond FL + SDF/KI, Group 4 Clearfil SE Bond, Group 5 Clearfil SEBond + SDF, Group 6 Clearfil SE Bond + SDF/KI then stored in distilled water at 37°C for 24 hours.After restored with resin composite, the specimens were cut into 1 x 1 mm sticks for microtensilebond strength test. The data were statistically analyzed using two-way ANOVA and Tukey’s post-hoctest with the level of significance at p < 0.05.Results: There was no statistically difference in microtensile bond strength between eachtreatment groups. Most of failure mode were adhesive failure.Conclusions: From the result of this study, pretreatment dentin surface with silver diaminefluoride alone, combined with potassium iodide or control group has no significantly difference inmicrotensile bond strength both in total-etch system and self-etch system.Keywords: Microtensile bond strength, Potassium iodide, Silver diamine fluoride, Self-etch adhesive,Total-etch adhesive ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 หน้า 51-63. SWU Dent J. 2021;14(1):51-63.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-04-07
How to Cite
1.
บรรณเกียรติกุล โ, พานิช ม. ผลของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์และโพแทสเซียมไอโอไดด์ต่อค่าความแข็งแรงพันธะแรงดึงระดับจุลภาคของวัสดุเรซินคอมโพสิตและเนื้อฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2021 Apr. 7 [cited 2024 Dec. 22];14(1):51-63. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13072
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น