ประสิทธิภาพการยับยั้งรอยโรคฟันผุในผิวเคลือบฟันด้านประชิดในฟันหลังแท้ของซีแลนท์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินและฟลูออไรด์วาร์นิช
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน (Proseal®)และฟลูออไรด์วาร์นิช (Clinpro™ White varnish) ต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดในระยะแรกเริ่มของฟันหลังแท้วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เป็นการทดลองสปลิทเมาท์แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยอาสาสมัครแต่ละคนต้องมีรอยผุด้านประชิดในฟันหลังระยะเริ่มแรกอย่างน้อย 1 คู่ ซึ่งตรวจพบรอยผุในระดับเคลือบฟันจากภาพรังสีและเป็นรอยผุที่มีการดำเนินของโรคและไม่แตกเป็นโพรงจากการตรวจรอยผุทางคลินิก โดยในแต่ละคนจะได้รับการสุ่มอย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อระบุเป็นกลุ่มศึกษา (กลุ่มที่ 1 คือ Proseal® และกลุ่มที่ 2 คือ Clinpro™White varnish) หรือ กลุ่มควบคุม ติดตามผลการลุกลามของรอยผุจากภาพรังสีโดยผู้วิจัยซึ่งไม่ทราบว่าเป็นกลุ่มการศึกษาใด อ่านและแปลผลภาพรังสีเป็นคู่ๆ ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือนผลการทดลอง: ติดตามผลการลุกลามของรอยผุจากภาพรังสีในอาสาสมัครอายุ 20-22 ปี จำนวน 70 คน(รอยผุด้านประชิดจำนวน 120 คู่) และ 65 คน (รอยผุด้านประชิดจำนวน 108 คู่) ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือนตามลำดับ พบว่าค่าความลึกของรอยผุในกลุ่มศึกษาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความลึกของรอยผุระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)สรุป: Proseal® และ Clinpro™ White varnish มีผลในการยับยั้งการลุกลามรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มใกล้เคียงกัน โดย Proseal® มีประสิทธิภาพในการยับยั้งรอยผุที่ระดับน้อยกว่าครึ่งนอกของความหนาเคลือบฟันได้ดีกว่า Clinpro™ White varnishคำสำคัญ: กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน ฟลูออไรด์วาร์นิช รอยผุด้านประชิด รอยผุระยะแรกเริ่ม Efficacy of Resin Modified Glass Ionomer Sealant and Fluoride Varnish Applications in Inhibiting Caries Progression on Proximal Enamel Lesions of Permanent Posterior TeethAbstractObjective: To investigate the effect of resin modified glass ionomer sealant (Proseal®) and fluoride varnish (Clinpro™ White varnish) applications on the progression of initial proximal caries in permanent posterior teeth.Materials and Methods: Each volunteer with at least 1 pair initial posterior proximal enamel lesions, agreed to participate in this split-mouth randomized control trial. The lesions were radiographically classified as E1 and E2, outer and inner half of enamel respectively and identified as active non cavitated clinically. Lesions in each volunteer were randomly allocated to treatment group 1 (Proseal®), group 2 (Clinpro™ White varnish) or control of both groups (no treatment). After 6 and 12 months, radiographic examination were performed to assess the lesion progression by an independent examiner blinded to groups, using pair-wise readings (mean lesion depth and Δ mean lesion depth).Results: Lesion progression of seventy (120 pairs of proximal lesions) and 65 participants (108 pairs of proximal lesions) were assessed after 6 and 12 months, respectively. Mean lesion depth decreased significantly both in Proseal® and Clinpro™ White varnish groups. After 6 and 12 months’ follow up, the differences in lesion progression (Δ mean lesion depth) between each test group and control group were statistically significant (p < 0.05).Conclusion: The study showed that Proseal® and Clinpro™ White varnish applications were similarly effective in inhibiting caries progression on early proximal lesions. However, at outer half enamel lesions, Proseal® is more effective in reducing proximal caries than Clinpro™ White varnish.Keywords: Resin modified glass ionomer, Fluoride varnish, Proximal caries, Incipient lesionsว.ทันต.มศว ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2563 หน้า51-64.SWU Dent J. 2020;13(2):51-64.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-09-29
How to Cite
1.
ตันพัฒน์อนันต์ ว, ไตรรัตน์วรกุล ช, ชอบอิสระ ส, เตชาธาราทิพย์ อ. ประสิทธิภาพการยับยั้งรอยโรคฟันผุในผิวเคลือบฟันด้านประชิดในฟันหลังแท้ของซีแลนท์กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซินและฟลูออไรด์วาร์นิช. SWU Dent J. [Internet]. 2020 Sep. 29 [cited 2024 Dec. 22];13(2):51-64. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12993
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น