ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหงือกอักเสบในเด็กสมองพิการชาวไทยช่วงก่อนวัยเรียน

Authors

  • กุลนันท์ พันธ์ศรีมังกร ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • พรพรรณ อัศวาณิชย์ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
  • บุษยรัตน์ สันติวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหงือกอักเสบของเด็กสมองพิการชาวไทยช่วง ก่อนวัยเรียน ที่เข้ารับบริการที่ศูนย์ฝึกกายภาพบำบัด เขตกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ประชากรที่ศึกษามาจากศูนย์ฝึกกายภาพบำบัดของมูลนิธิเพื่อเด็กพิการจำนวน 7 แห่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือเด็กสมองพิการอายุ 3-6 ปีที่เข้ารับบริการ จำนวน 60 คน การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการตรวจทางคลินิกและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลหลัก การตรวจสุขภาพเหงือกจากดัชนีเหงือกอักเสบ (Gingival index; GI) โดย Löe และ Silness โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ เหงือกปกติหรือมีเหงือกอักเสบเล็กน้อย (GI < 2) และเหงือกอักเสบปานกลางถึงรุนแรง (GI ≥ 2) และเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แก่ เพศ ชนิดของภาวะ สมองพิการ การใช้ยากันชัก ระดับการศึกษาของผู้ดูแลหลัก ความถี่ในการแปรงฟัน และการสะสมคราบจุลินทรีย์ ด้วยดัชนีอนามัยช่องปากอย่างง่าย (OHI-S) ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในการวิเคราะห์ สองตัวแปร จะถูกนำไปวิเคราะห์ในสมการถดถอยโลจิสติกผลการศึกษา: เด็กสมองพิการมีความชุกของเหงือกอักเสบร้อยละ 81.67 (49 คน) เด็กสมองพิการที่มี การสะสมของคราบจุลินทรีย์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า (OHI-S ≥ 2) มีโอกาสพบเหงือกอักเสบชนิดปานกลางถึง รุนแรงได้มากกว่า 25.84 เท่าของเด็กที่ไม่พบคราบจุลินทรีย์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า (95%CI 3.89-171.44) เด็ก สมองพิการที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 จะมีโอกาสพบเหงือกอักเสบชนิดปานกลางถึง รุนแรงมากกว่า 6.69 เท่าของเด็กที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (95% CI 1.50-29.84) และเด็กสมองพิการที่ได้รับยากันชักจะมีโอกาสพบเหงือกอักเสบชนิดปานกลางถึงรุนแรงได้มากกว่าถึง 5.90 เท่า ของเด็กที่ไม่ได้รับยากันชัก (95% CI 1.29-26.84)สรุป: เหงือกอักเสบเป็นปัญหาสุชภาพช่องปากที่มีความชุกสูงในเด็กสมองพิการชาวไทยช่วงก่อนวัยเรียนปัจจัยการมีคราบจุลินทรีย์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และการใช้ยากันชัก มีความเกี่ยวข้อง กับเหงือกอักเสบระดับปานกลางและสูงในเด็กสมองพิการชาวไทยช่วงก่อนวัยเรียนคำสำคัญ: สมองพิการ เหงือกอักเสบ เด็กก่อนวัยเรียน Factors Associated with Gingivitis in Thai Preschool Children with Cerebral PalsyAbstractObjective: The aim of this study was to investigate prevalence and factors associated with gingivitis among Thai preschool children with cerebral palsy (CP) attending rehabilitation centers in Bangkok, Thailand.Materials and Methods: The studied population was recruited from the 7 rehabilitation centers of Foundation of Children with Disability (FCD) in Bangkok. Sixty children with CP, aged 3-6 years old, received an oral examination and primary caregivers completed a questionnaire. Gingival health of individuals was assessed by a gingival index assessed from Löe and Silness and was categorized as normal to mild gingivitis (GI < 2) and moderate to severe gingivitis (GI ≥ 2). The following variables were collected: gender, type of CP, use of anticonvulsants medication, caregiver’s educational level, brushing frequency and dental plaque deposition based on Simplified Oral Hygiene Index (OHI-S). Variables with a p < 0.05 in the bivariate analysis were incorporated into the logistic regression models.Results: Prevalence rate of gingivitis in study group was 81.67% (n = 49). Children with visible plaque (OHI-S ≥ 2), children whose caregiver had an educational level less than 9th grade and children who took anticonvulsants had a 25.84-fold (95% CI 3.89 to 171.44), a 6.69-fold (95% CI 1.50 to 29.84), and a 5.90-fold (95% CI 1.29 to 26.84), greater chance of exhibiting moderate to severe gingivitis, respectively.Conclusions: Gingivitis is the oral health problem with high prevalence in Thai preschool children with CP. Dental plaque, low educational level of caregivers and using anticonvulsants drugs are factors associated with moderate to severe forms of gingivitis.Keywords: Cerebral palsy, Gingivitis, Preschool children ว.ทันต.มศว ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2563 หน้า 60-72.SWU Dent J. 2020;13(1):60-72.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กุลนันท์ พันธ์ศรีมังกร, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

ทันตแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตร สาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก

พรพรรณ อัศวาณิชย์, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง

บุษยรัตน์ สันติวงศ์, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 34 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.

Downloads

Published

2020-06-26

How to Cite

1.
พันธ์ศรีมังกร ก, อัศวาณิชย์ พ, สันติวงศ์ บ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหงือกอักเสบในเด็กสมองพิการชาวไทยช่วงก่อนวัยเรียน. SWU Dent J. [Internet]. 2020 Jun. 26 [cited 2024 Oct. 4];13(1):60-72. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12664

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)