ผลของวิธีการบ่มตัวต่อค่าปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวร่วมสองชนิด

Authors

  • คงวุฒิ เหลืองเรืองรอง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ชิษณุ เลิศถวิลจิร ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ศิริจันทร์ เจียรพุฒิ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

จุดประสงค์: เพื่อทราบถึงผลของวิธีการบ่มตัวและชนิดของเรซินซีเมนต์ระหว่างเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดชนิดเซลฟ์เอตช์และเรซินซีเมนต์ชนิดเซลฟ์แอดฮีซีฟต่อค่าปริมาณการเกิดพอลิเมอร์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ทดลองโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวร่วมสองชนิด 60 ชิ้น แบ่งเป็นซีเมนต์พานาเวียวีไฟว์และซีเมนต์รีไลย์เอกซ์ยูสองร้อยชนิดละ 30 ชิ้นและแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มย่อยตามวิธีการบ่มตัวของเรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิดได้แก่ กลุ่มที่ใช้วิธีการบ่มตัวด้วยตัวเองเป็นเวลา 10 นาที กลุ่มที่ใช้วิธีการบ่มตัวด้วยตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมงและกลุ่มที่ใช้วิธีการบ่มตัวด้วยแสง (n = 10) ผสมเรซินซีเมนต์แต่ละกลุ่มตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตและนำมาหาค่าร้อยละปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มรามานสเปกโตรสโคป นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและใช้วิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบแอลเอสดีโดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นไว้ที่ร้อยละ 95 (p = 0.05)ผลการทดลอง: กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละปริมาณการเกิดพอลิเมอร์น้อยที่สุดคือรีไลย์เอกซ์ยูสองร้อยในกลุ่มที่ใช้วิธีการบ่มตัวด้วยตัวเองเป็นเวลา 10 นาทีคือร้อยละ 32.82 และน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ที่ได้ในวิธีการบ่มตัวเดียวกันของซีเมนต์พานาเวียวีไฟว์คือร้อยละ 57.76 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05) และในกลุ่มที่ใช้วิธีการบ่มตัวด้วยตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มซีเมนต์รีไลย์เอกซ์ยูสองร้อยคือร้อยละ 58.38 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มซีเมนต์พานาเวียวีไฟว์ที่ได้ร้อยละ76.47 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p < 0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างเรซินซีเมนต์สองชนิดภายในกลุ่มที่ใช้วิธีการบ่มตัวด้วยแสงที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p > 0.05) แนวโน้มของค่าเฉลี่ยร้อยละค่าปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ของซีเมนต์พานาเวียวีไฟว์มีมากกว่าซีเมนต์รีไลย์เอกซ์ยูสองร้อยเมื่อใช้วิธีการบ่มตัวด้วยตัวเองแต่ไม่มีความแตกต่างกันกรณีที่ใช้วิธีบ่มตัวด้วยแสงสรุปผล: วีธีการบ่มตัวและชนิดของเรซินซีเมนต์มีผลต่อค่าปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวร่วมสองชนิดคำสำคัญ: เรซินซีเมนต์ บ่มตัวร่วม วิธีการบ่มตัว ชนิดของเรซินซีเมนต์ ค่าปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ Influence of Curing Modes on Degree of Conversion of TwoDual-cure Resin CementsAbstractObjective: The purpose of this study was to evaluate how curing modes and resin cement type: self-etch adhesive resin cement and self-adhesive resin cement, affected the degree of conversion of two dual-cure resin cements.Materials and methods: Sixty specimens were divided into two major groups according to their different types of dual-cure resin cement (Panavia™V5 and RelyX™U200). Each major group had thirty specimens and was divided into three different curing modes (n = 10): ten minutes after self-curing, twenty-four hours after self-curing and light-curing. Resin cements were mixed according to their manufacturer’s recommendations. The degree of conversion was measured by Fourier-Transform Raman spectroscopy. Data were statistically analyzed by two-way ANOVA and post hoc LSD test (p = 0.05).Results: The degree of conversion of the ten minutes after self-curing group of RelyX™U200 was found to have the lowest value (32.82%), which was significantly different (p < 0.05) from Panavia™V5 (57.76%) in the same curing mode. The degree of conversion of RelyX™U200 (58.38%) was significantly lower than Panavia™V5 (76.47%) on the twenty-four hours after self-curing group (p < 0.05). However, there was no significant difference between two cements in the light-curing group (p > 0.05). Thus, the degree of conversion of Panavia™V5 tended to be higher than RelyX™U200 on self-curing mode, but there was no difference on light-curing mode.Conclusion: The curing mode and cement type affected the degree of conversion of two dual-cure resin cements.Keywords: Resin cements, Dual-cured, Curing modes, Resin cements type, Degree of conversionว.ทันต.มศว ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2563 หน้า 29-43.SWU Dent J. 2020;13(1):29-43.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

คงวุฒิ เหลืองเรืองรอง, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาทันตกรรมคลินิก (ทันตกรรมบูรณะ)

ชิษณุ เลิศถวิลจิร, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์ ทันตแพทย์

ศิริจันทร์ เจียรพุฒิ, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง

Downloads

Published

2020-06-26

How to Cite

1.
เหลืองเรืองรอง ค, เลิศถวิลจิร ช, เจียรพุฒิ ศ. ผลของวิธีการบ่มตัวต่อค่าปริมาณการเกิดพอลิเมอร์ของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวร่วมสองชนิด. SWU Dent J. [Internet]. 2020 Jun. 26 [cited 2024 Dec. 26];13(1):29-43. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12662

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)