การพัฒนาเซอร์โคเนียเซรามิกสำหรับการขึ้นรูปด้วยเทคนิคการพิมพ์สามมิติ
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางกลของวัสดุเซอร์โคเนียสำหรับการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติชนิดฟิวส์เดพโพสิชั่นโมเดลลิ่ง (FDM) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมผงเซอร์โคเนียและตัวประสานผสมเข้าด้วยกันในอัตราส่วนของผงเซอร์โคเนียต่อตัวประสานคือ 25:75 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นเส้นฟิลาเมนต์ที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส และเตรียมเส้นฟิลาเมนต์ที่ขึ้นรูปแล้วเป็นวัตถุดิบสำหรับการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด FDM ขึ้นรูปชิ้นงานตัวอย่างด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้วนำมากำจัดตัวประสานทั้งหมดด้วยความร้อนโดยนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1510 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ศึกษาสมบัติทางกายภาพประกอบด้วย น้ำหนักที่หายไปหลังเผา ความหนาแน่นรวม ปริมาณรูพรุนปรากฏ การดูดซึมน้ำ การหดตัวเชิงเส้น โครงสร้างทางจุลภาค และความต้านทานการดัดโค้งของชิ้นงาน ผลการทดลอง: น้ำหนักที่หายไปหลังเผาเท่ากับ 40.60 ± 0.71เปอร์เซ็นต์ ความหนาแน่น เฉลี่ย 4.08± 0.42 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร รูพรุน มีค่า 31.33 ± 6.01 เปอร์เซ็นต์ การดูดซึมน้ำ 7.88 ± 2.20 เปอร์เซ็นต์ การหดตัวเชิงเส้นเฉลี่ย 25.91±5.92 เปอร์เซ็นต์ การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคมีรูพรุนหลังจากที่กำจัดตัวประสานและต้านทานต่อการดัดโค้ง มีค่า 31.77±1.3 เมกะพาสคาล สรุป: ภายใต้ข้อจำกัดของการศึกษานี้ สมบัติทางกายภาพและความต้านทานต่อการดัดโค้งของเซอร์โคเนียที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติชนิด FDM ยังมีค่าน้อยกว่ามาตรฐาน ISO สำหรับวัสดุเซอร์โคเนียที่ใช้ในการบูรณะทางทันตกรรม โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ชนิดของเครื่องพิมพ์และอัตราส่วนของผงเซอร์โคเนียต่อตัวประสาน ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาสมบัติต่างๆต่อไปคำสำคัญ: การพิมพ์สามมิติ เซอร์โคเนีย เซรามิก ฟิวส์เดพโพสิชั่นโมเดลลิ่งDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2019-12-26
How to Cite
1.
สุขวรรณ จ, วาสนาเพียรพงศ์ ธ, ดิดรอน ภป. การพัฒนาเซอร์โคเนียเซรามิกสำหรับการขึ้นรูปด้วยเทคนิคการพิมพ์สามมิติ. SWU Dent J. [Internet]. 2019 Dec. 26 [cited 2025 Jan. 22];12(2):65-78. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12075
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น