การพัฒนาไฮโดรเจลชนิดเมตาคริเลทจากกรดไฮยาลูโรนิกแบบฉีดที่มีแมนนิทอลและบีเอสเอเพื่อใช้ทำเป็นระบบนำส่งยา

Authors

  • นพนันท์ ตราเกียรติกุล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • นิรดา ธเนศวร ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 ถนนสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • จิตติมา ลัคนากุล ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม , หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติเพื่อการชะลอวัยและโรคเรื้อรังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน่วยวิจัยด้านยาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาไฮโดรเจลรูปแบบฉีดจากกรดไฮยาลูโรนิกโดยนำมาดัดแปลงด้วยเมตาคริลิก แอนไฮไดรด์ (Methacrylic anhydride) และครอสลิงค์ด้วยไดไทโอทรีไอทอล (Dithiothreitol; DTT) เกิดเป็นไฮโดรเจลแบบฉีดชนิด  เมตาคริเลทเตทจากกรดไฮยาลูโรนิก (Methacrylated Hyaluronic acid injectable Hydrogels; MeHA injectable hydrogels) โดยมีแมนนิทอล (Mannitol) เป็นสารเพิ่มปริมาณยาและใช้บีเอสเอ (Bovine serum albumin; BSA) เป็นตัวแทนโปรตีน วัสดุและวิธีการ: สังเคราะห์ไฮโดรเจลแบบฉีดชนิดเมตาคริเลทเตทจากกรดไฮยาลูโรนิก และนำไปผสมรวมกับสารละลายที่มีส่วนผสมของแมนนิทอล และบีเอสเอ ในอัตราส่วน 1:1, 2:1, 4:1 และ 100:1 ตามลำดับ และนำไปศึกษาลักษณะโครงสร้างพื้นผิวของไฮโดรเจลภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด ระยะเวลาในการก่อตัวเป็นเจล คุณสมบัติการพองตัว และคุณสมบัติในการปลดปล่อยโปรตีนของไฮโดรเจล ผลการศึกษา: พบว่าบีเอสเอ สามารถผสมเข้ากับแมนนิทอลในไฮโดรเจลแบบฉีดชนิดเมตาคริเลทเตทจากกรดไฮยาลูโรนิกได้เป็นอย่างดี และแมนนิทอลเกิดการตกผลึกอย่างเห็นได้ชัดภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด โดยพบว่าระยะเวลาในการก่อตัวเป็นเจล ของทุกอัตราส่วนรวมถึงกลุ่มควบคุม (ได้แก่ ไฮโดรเจลชนิดเมตาคริเลทเตทจากกรดไฮยาลูโรนิกที่ไม่มีส่วนผสมของแมนนิทอล และบีเอสเอ) อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที ในส่วนของคุณสมบัติในการพองตัวของไฮโดรเจล พบว่าส่วนผสมทุกอัตราส่วน มีความสามารถในการกักเก็บน้ำไว้ในตัวเองได้สูงสุดประมาณร้อยละ 90 นอกจากนี้จากคุณสมบัติในการปลดปล่อยโปรตีนพบว่าในทุกอัตราส่วนสามารถปลดปล่อยโปรตีนได้อย่างช้าๆ ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง สรุป: แมนนิทอลและบีเอสเอสามารถผสมเข้าได้ดีกับไฮโดรเจลแบบฉีดชนิดเมตาคริเลทเตทจากกรดไฮยาลูโรนิก โดยยังคงคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีไว้ โดยไม่เกิดการรบกวนต่อคุณสมบัติทางกายภาพของไฮโดรเจล นอกจากนี้ยังสามารถปรับอัตราส่วนของแมนนิทอลต่อบีเอสเอให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ในกรณีที่ต้องการปรับปริมาณยาหรือโปรตีนตามความเหมาะสมเฉพาะบุคคล คำสำคัญ: ไฮโดรเจลแบบฉีด แมนนิทอล กรดไฮยาลูโรนิก ระบบการขนส่งยา

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นพนันท์ ตราเกียรติกุล, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตปริญญาโทหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล, ทันตแพทย์

นิรดา ธเนศวร, ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 ถนนสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์, ทันตแพทย์

จิตติมา ลัคนากุล, ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม , หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติเพื่อการชะลอวัยและโรคเรื้อรังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน่วยวิจัยด้านยาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

อาจารย์,เภสัชกร

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์,ทันตแพทย์

Downloads

Published

2018-12-27

How to Cite

1.
ตราเกียรติกุล น, ธเนศวร น, ลัคนากุล จ, รังสิยานนท์ ส. การพัฒนาไฮโดรเจลชนิดเมตาคริเลทจากกรดไฮยาลูโรนิกแบบฉีดที่มีแมนนิทอลและบีเอสเอเพื่อใช้ทำเป็นระบบนำส่งยา. SWU Dent J. [Internet]. 2018 Dec. 27 [cited 2024 Dec. 22];11(2):41-54. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/10698

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)