ผลการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินที่มีและไม่มีอะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต บนรอยผุจำลองระยะแรก: การศึกษาในช่องปาก
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เปรียบเทียบการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินที่มีและไม่มีอะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต บนรอยผุจำลองระยะแรกในช่องปาก วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ เตรียมชิ้นฟันตัวอย่างจากด้านประชิดทั้งสองด้านของฟันกรามน้อย 24 ซี่ ขนาด 1x3x1 มิลลิเมตร ที่ระดับเดียวกัน สร้างรอยผุจำลองระยะแรก แบ่งชิ้นฟันเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนทดลอง ส่วนรอยผุจำลองระยะแรกก่อนทดลอง และส่วนควบคุมที่ไม่ได้เคลือบวัสดุ ส่วนทดลองเคลือบด้วยวัสดุเรซินที่มี (Aegis®) และไม่มีอะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต (Delton®) สุ่มติดชิ้นฟันบนเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น บริเวณฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่ง เป็นระยะเวลา 28 วัน วัดค่าความหนาแน่นแร่ธาตุด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตตโทโมกราฟี ผลการทดลอง ภายหลังการทดลองรอยผุที่เคลือบด้วย Aegis® และ Delton® มีค่าความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง (p=0.039 และ p=0.018 ตามลำดับ) และมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002 และ p=0.02 ตามลำดับ) โดย Aegis® มีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ย7.98±11.49 ต่างจาก Delton® 4.57± 13.79 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.87) บทสรุป การเคลือบหลุมร่องฟันสามารถเพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุได้ โดย Aegis® สามารถคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุจำลองระยะแรกได้ต่างจาก Delton® อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: การคืนกลับแร่ธาตุ วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต ความหนาแน่นของแร่ธาตุDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2018-12-27
How to Cite
1.
ผดุงลาภพิสิฐ ว, อวยชัย ป, ไตรรัตน์วรกุล ช. ผลการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินที่มีและไม่มีอะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต บนรอยผุจำลองระยะแรก: การศึกษาในช่องปาก. SWU Dent J. [Internet]. 2018 Dec. 27 [cited 2024 Dec. 22];11(2):28-40. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/10697
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น