ผลของภูมิหลังการศึกษาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต่อความพึงพอใจในรูปแบบใบหน้าและฟัน

Authors

  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • อิษฏ์ อัสโสรัตน์กุล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ธนพ จำปาทิพย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ธารินทร์ อนุรักษ์เลขา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ภวัต ศรีโปดก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อในปัจจุบัน ความสวยงามเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในงานทันตกรรม นอกเหนือจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดของอวัยวะในช่องปากแล้ว ผู้ป่วยมักจะให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นความสมดุลกันระหว่างแนวคิดในการรักษาของทันตแพทย์และความคาดหวังของผู้ป่วยจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการรักษาผู้ป่วยวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างในความพึงพอใจระหว่างกลุ่มนิสิตคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่มีต่อรูปแบบใบหน้าและฟันวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เก็บข้อมูลจากนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 520 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่มดังนี้ 1. นิสิตสายวิทยาศาสตร์ 2. นิสิตสายศิลปศาสตร์ 3. นิสิตทันตแพทย์ชั้นก่อนคลินิก 4. นิสิตทันตแพทย์ชั้นคลินิก โดยคำถามหลักที่ใช้ในการศึกษาความแตกต่างของความพึงพอใจในครั้งนี้มี 3 ส่วน คือรูปแบบใบหน้า, ระดับการมองเห็นของเหงือกขณะยิ้ม และรูปร่างของฟัน โดยนิสิตแต่ละกลุ่มมีจำนวน 130 คนเท่ากัน โดยทำการแจกแบบสอบถามแบบสุ่ม ผู้ที่เข้าร่วมทำแบบสอบถามจะให้คะแนนความพึงพอใจในแต่ละรูปแบบด้วย Visual analog scale (VAS) เก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ One-Way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ P<0.05ผลการทดลอง: จากข้อมูลความพึงพอใจของ 4 กลุ่มตัวอย่าง พบแนวโน้มความพึงพอใจในรูปแบบใบหน้าของทุกกลุ่มในลักษณะเดียวกันคือ ใบหน้าแบบตรง ตามมาด้วยแบบนูน และโค้งงอตามลำดับ สำหรับระดับการเห็นเหงือกขณะยิ้มพบว่า ระดับ 0 มิลลิเมตรได้คะแนนสูงที่สุด ตามมาด้วย 2 และ 4 มิลลิเมตรตามลำดับ ในส่วนรูปร่างฟัน ผู้เข้าร่วมวิจัยเลือกฟันรูปยาวสอบมากกว่ารูปสี่เหลี่ยมและรูปไข่ตามลำดับ เป็นที่น่าสนใจว่านิสิตทันตแพทย์ชั้นคลินิกให้คะแนนของรูปแบบใบหน้าแบบตรง และระดับการมองเห็นเหงือกขณะยิ้มที่2 และ 4 มิลลิเมตรที่สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญสรุปผล: นิสิตทันตแพทย์ชั้นคลินิกมีมุมมองต่อรูปแบบใบหน้าแบบตรงและระดับมองเห็นเหงือกขณะยิ้มที่ 2 มิลลิเมตรซึ่งส่งผลต่อความสวยงามของใบหน้าและฟันแตกต่างจากกลุ่มนิสิตที่มีภูมิหลังการศึกษาในสาขาอื่นคำสำคัญ: การยอมรับ ความงามของรูปแบบใบหน้า ความงามของรูปแบบฟัน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์, ทันตแพทย์

อิษฏ์ อัสโสรัตน์กุล, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตทันตแพทย์ ระดับปริญญาตรี

ธนพ จำปาทิพย์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตทันตแพทย์ ระดับปริญญาตรี

ธารินทร์ อนุรักษ์เลขา, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตทันตแพทย์ ระดับปริญญาตรี

ภวัต ศรีโปดก, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตทันตแพทย์ ระดับปริญญาตรี

Downloads

Published

2018-06-30

How to Cite

1.
รังสิยานนท์ ส, อัสโสรัตน์กุล อ, จำปาทิพย์ ธ, อนุรักษ์เลขา ธ, ศรีโปดก ภ. ผลของภูมิหลังการศึกษาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต่อความพึงพอใจในรูปแบบใบหน้าและฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2018 Jun. 30 [cited 2024 Nov. 18];11(1):43-54. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/10216

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)