การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนาน และนิทานพื้นบ้านกับการสอน แบบปกติ

Authors

  • ปัทมา วาสสามัคคี
  • กิตติชัย สุธาสิโนบล
  • พรพิมล ประสงค์พร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้านกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนอนุบาลนครนายก อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จากนั้นจัดสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้าน และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติโดยจับสลากเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 36 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสื่อสารโดยใช้ตำนาน และนิทานพื้นบ้าน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Randomized Control Group Pretest – Posttest Design โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นพัฒนาตำนานและนิทานพื้นบ้าน และระยะที่ 2 ขั้นทดลองใช้ ในระยะที่ 1 เครื่องมือในการวิจัย คือ ตำนานและนิทานพื้นบ้าน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.77/81.02 ส่วนระยะที่ 2 ขั้นทดลองใช้ เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผน การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้าน สำหรับกลุ่มทดลอง 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ สำหรับกลุ่มควบคุม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .72  4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test for Independent Sample และ t-test for Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ตำนานและนิทานพื้นบ้านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.77/81.02 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้าน มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้าน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   5. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนานและนิทานพื้นบ้าน มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ตำนานและนิทานพื้นบ้าน การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ เจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ

Downloads

How to Cite

วาสสามัคคี ป., สุธาสิโนบล ก., & ประสงค์พร พ. (2015). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารโดยใช้ตำนาน และนิทานพื้นบ้านกับการสอน แบบปกติ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6573

Most read articles by the same author(s)