การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์ เจตคติที่มีต่อสาระประวัติศาสตร์และทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

สัญญาพร เสิงขุนทด
กิตติชัย สุธาสิโนบล
วรินทร โพนน้อย

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนสาระประวัติศาสตร์และทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพิพัฒนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจากนั้นจับสลากเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการวิจัยแบบ Randomized Control Group Pretest – Posttest Design กลุ่มทดลองใช้การจัดการเรียนการสอนแบบพุทธะและกลุ่มควบคุมใช้การสอนแบบปกติ ใช้เวลาในการทดลองกลุ่มละ15 คาบ คาบละ 50 นาทีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 แบบวัดเจตคติต่อการเรียนประวัติศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบวัดทักษะทางสังคมที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ t – test for Independent sample และ t –test for Dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะมีเจตคติต่อการเรียนสาระประวัติศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะมีทักษะทางสังคมสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียนสาระประวัติศาสตร์และทักษะทางสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อการเรียนสาระประวัติศาสตร์และทักษะทางสังคมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบพุทธะ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อสาระประวัติศาสตร์ และทักษะทางสังคม

Article Details

How to Cite
เสิงขุนทด ส., สุธาสิโนบล ก., & โพนน้อย ว. (2015). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์ เจตคติที่มีต่อสาระประวัติศาสตร์และทักษะทางสังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบพุทธะกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/6582
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)