การศึกษากระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพ โอกาสและความหวังในอนาคตของการผลิตครูในประเทศไทยกรณีศึกษา : นิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตม
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อศึกษากระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพ โอกาสและความหวังในอนาคตของการผลิตครูในประเทศไทยกรณีศึกษา: นิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตมวิธีการดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed Method Designs) ซึ่งเป็นการศึกษาร่วมกันทั้งในวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative) และวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยใช้การวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์เจาะลึก และสังเคราะห์องค์ความรู้กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเพชรในตมและนิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลแบบสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มแบบวัดเจตคติต่อการเรียนของนิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพฯด้านบริบทหรือปัจจัยแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิตในระดับมาก 2. ปัจจัยในการจัดการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพโอกาสและความหวังในอนาคตของการผลิตครูในประเทศไทยกรณีศึกษา: นิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตม ประกอบด้วยคณะกรรมการร่วนทั้ง 3 หน่วยงาน คือ สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ3. การสังเคราะห์องค์ความรู้ของกระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพฯ พบว่ากระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพฯ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ3 ส่วน คือ สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และกระทรวงศึกษาธิการที่เชื่อมโยงมิติของการผลิตและการพัฒนาซึ่งกันและกัน 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมีดังนี้ 1) ควรขยายผลความสำเร็จในฐานะโครงการต้นแบบการผลิตครูสู่สังคมไทยที่มีประสิทธิภาพ ให้หน่วยงานอื่นๆ ได้นำไปปรับใช้ในการผลิตครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีจิตสาธารณะเพื่อสังคมส่วนร่วมและประเทศชาติในวงกว้าง ในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ดีให้กับประเทศชาติ 2) ควรเพิ่มโครงการบ่มเพาะประสบการณ์และการพัฒนาศักยภาพของนิสิตโครงการเพชรในตมที่จบการศึกษาให้เป็นบัณฑิตออกไปพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านการเพิ่มพูนแนวคิด ยกระดับวิชาชีพครูในด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาทักษะและเทคนิคการสอน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศ 3) ควรมีการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการในเรื่องอัตรากำลังของการบรรจุและแต่งตั้งให้ชัดเจน ตรงตามหมู่บ้านที่นิสิตอาศัยอยู่ให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับนิสิตที่จบการศึกษาในโครงการได้ปฏิบัติราชการอย่างรวดเร็วซึ่งต้องเกิดจากการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ 4) ควรปรับนโยบายด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาครูโครงการเพชรในตม โดยเริ่มจากการทบทวนความเหมาะสมของระยะเวลาของหลักสูตรการผลิตครูที่เหมาะสมที่สัมพันธ์กับการบริหารด้านงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ โดยออกแบบและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวงศึกษาธิการ คำสำคัญ: กระบวนการผลิต และพัฒนานิสิตฝึกหัดครู ครูมืออาชีพโครงการเพชรในตม ABSTRACT The purposes of this research are to study the process of professional teacher production and development, the opportunity and hope for teacher education in Thailand. PETNAITOM Project was employed as a case study. The methodology of this research is mixed method designs, quantitative and qualitative research methods, which include documents analysis, in-depth interviewing and knowledge synthesizing. The sampling group is purposively selected from those who involve in the PETNAITOM Project, both in the past and at present, altogether 155 of them. The research tools are a record form, an interview form for group conversation, and an attitude evaluation form for students under the Project. The data analysis is content analysis and the statistics used are means, standard variations and percentage. The findings are as follows: 1. The study finds that the satisfaction toward the graduates’ working performance in the process of professional teacher production and development concerning the context, input, process and product, is rated high. 2. Regarding education management, the factors that have influences on the production and development process of students toward professional teachers as well as on future opportunity and hope for teacher education in Thailand: Case Study PETNAITOM Project are committees set up from three organizations: 1) Primary Education Programme, the Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 2) Internal Security Operations Command, the Ministry of Defence , and 3) the Ministry of Education. 3. The study finds that three parties, 1) Primary Education Programme, Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 2) Internal Security Operations Command, the Ministry of Defence , and 3) the Ministry of Education are involved in the knowledge synthesis of the production and development process of students toward professional teachers. These bodies dimensionally connect one another in the production and development process. 4. Recommendations on the policy are that 1) The achievement of the project, as a prototype in the production of qualified teachers, should be extended to other organizations to apply in the production of conscience teachers to be those who have knowledge, skills, and integrity for the benefit of society and nation. 2) It is recommended that the project on experience cultivation and potential development for the graduates of the PETNAITOM Project be conducted as a means to enhance their profession improvement regarding curriculum development, skills development and teaching techniques to meet with the changes in the country. 3) The policy on the recruitment of staff and the management of manpower should be clearly imposed and should meet with requirement of the community where the students of the project live the most. However, it is seen that only efficient coordinationwould enable them to start working right after the graduation. 4) The policy on production and development process of teachers under the PETNAITOM Project be started from the revision of the appropriateness of the course duration in relation to the efficient budget administration. The curriculum should be designed and developed in accordance with the qualifications for higher education standard and teacher professional standard, set by the Ministry of Education. Keywords: Professional Teacher Production and Developing Process, Professional Teachers, PETNAITOM Project
Article Details
How to Cite
สุธาสิโนบล ก. (2017). การศึกษากระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตฝึกหัดครูสู่ครูมืออาชีพ โอกาสและความหวังในอนาคตของการผลิตครูในประเทศไทยกรณีศึกษา : นิสิตฝึกหัดครูโครงการเพชรในตม. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9825
Section
บทความวิจัย (Research Articles)