ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเอกชนจังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน EFFECTS OF PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITIES ON THE MEDIA LITERACY OF GRADE SIX STUDENTS AT PRIVATE SCHOOLS IN NONTHABURI PROVINCE UNDER THE OFFICE OF PRIVATE EDUCATION COMMISSION

Main Article Content

กรรทิมา อ่วมเลิศ
สุมาลี เชื้อชัย
กิตติชัย สุธาสิโนบล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อก่อน และหลังเรียน โดยใช้การจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี จำนวน 30 คน ซึ่งผู้วิจัยได้มาจากการสุ่มแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (2)  แบบทดสอบการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  (3) แบบประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบผลคะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ค่า t ( t-test independent) ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลคะแนนการทดสอบทักษะการรู้เท่าทันสื่อ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.62 และ SD.=0.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในด้านเนื้อหา การวัดประเมินผล นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะการรู้เท่าทันสื่อมากขึ้น (mean=4.97 และ SD.=0.18)

Article Details

How to Cite
อ่วมเลิศ ก., เชื้อชัย ส., & สุธาสิโนบล ก. (2023). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเอกชนจังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน: EFFECTS OF PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITIES ON THE MEDIA LITERACY OF GRADE SIX STUDENTS AT PRIVATE SCHOOLS IN NONTHABURI PROVINCE UNDER THE OFFICE OF PRIVATE EDUCATION COMMISSION. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 1–12. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15494
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Center for Media Literacy. (2023). Beyond Fact Checking: How to Read the News Using CML's 5 Core Concepts and Key Questions to the News. Retrieved from: https://www.medialit.org/beyond-fact-checking-how-read-news-using-cmls-5-coreconcepts-and-key-questions-news

Erdem, C. (2018). Problem-based Learning in Media Literacy Education.

Media Literacy Now. (2022). U.S. Media Literacy Policy Report.

Ofcom. (2023). Children’s Media Use and Attitudes. Retrieved from: https://www.ofcom.org.uk/research-and-data/media-literacy-research/childrens/children-and-parents-media-use-and-attitudes-report-2023

Potter. (2005). Media Literacy: SAGE Publications.

Wong, S. S. H., Kim, M., และ Jin, Q. (2021). Critical Literacy Practices Within Problem Based Learning Projects in Science. Interchange. 52(4), 463-477

Unesco. (2023). About Media and Information Literacy. Retrieved from: https://www.unesco.org/en/media- information-literacy/about

นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. (2558). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9.

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง), และ วิทยา ทองดี. (2021). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. Journal of MCU Ubon Review, 7(1).

ดารัตน์ วงศ์ยศ. (2564). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

Most read articles by the same author(s)