การเปรียบเทียบการสอนแบบสืบสอบ (5E) กับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนแบบสืบสอบ (5E) ที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อ 2) ศึกษาผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อการรู้เท่าทันสื่อ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระหว่างผลของการสอนแบบสืบสอบ (5E) กับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 60 คน ปีการศึกษา 2559 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ปถ 394 คอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบสืบสอบ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง 3) แบบทดสอบการรู้เท่าทันสื่อและ 4) แบบวัดพฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งที่เรียนด้วยการสอนแบบสืบสอบและกลุ่มที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 แสดงว่าทั้ง 2 วิธีสามารถส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อได้ และคะแนนหลังเรียนของกลุ่มที่เรียนด้วยการสอนแบบสืบสอบกับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองไม่มีความแตกต่างกันคำสำคัญ: การรู้เท่าทันสื่อ การสอนแบบสืบสอบ การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ABSTRACT The purpose of this study were 1) to study the effects of Inquiry Teaching Method (5E) and Simulation Teaching Method on Media literacyand 2) to compare the effects of Inquiry Teaching Method (5E) and Simulation Teaching Method on Media literacy of Student of Education Faculty, SrinakharinwirotUniversity. The research sample consisted of 60 students whoenrolled in computer course for elementary school teachers. The sample was obtained by Purposive Sampling and divided into experimental group 1 and experimental group 2. The tools for collecting data were 1) Lesson plan of Inquiry Teaching Method (5E) 2) Lesson plan of Simulation Teaching Method 3) Media literacy Test and 4) Behavior of Media literacy Test . The analysis of data were percentages, mean, standard deviation and T-test. The results show that students’ media literacy showed higher test score after learning by Inquiry Teaching Method (5E) and Simulation Teaching Method at the .05 level of statistical significance. And regarding the comparison of the student’ media literacy between Inquiry Teaching Method (5E) and Simulation Teaching Method showed t-test results without any difference, meaning no statistical significance. Keyword: Media literacy, Inquiry Teaching Method, Simulation Teaching Method
Article Details
How to Cite
เชื้อชัย ส. (2017). การเปรียบเทียบการสอนแบบสืบสอบ (5E) กับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9840
Section
บทความวิจัย (Research Articles)