ความสำเร็จของการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน EVALUATION OF THE SUCCESS OF EXTENDING ACADEMIC KNOWLEDGE AND TEACHING METHODS TO UPPER SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION

Main Article Content

รุ่งทิวา แย้มรุ่ง
มนตา ตุลย์เมธาการ
วิไลลักษณ์ ลังกา
พนิดา ศกุนตนาค
อรอุมา เจริญสุข
ศุภวรรณ สัจจพิบูล
นฤมล ศิระวงษ์
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตามโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ในการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนเครือข่ายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยแหล่งข้อมูลบุคคล ประกอบไปด้วย 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารและครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน กลุ่มที่ 2 ครูโรงเรียนเครือข่าย ประชากรจำนวน 109 โรงเรียน กลุ่มที่ 3 นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน และกลุ่มที่ 4 นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม ประเด็นการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เชิงบรรยายด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูโรงเรียนเครือข่ายสามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้เหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.41 จากคะแนนเต็ม 5) และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้เหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.36 จากคะแนนเต็ม 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.01 จากคะแนนเต็ม 5) 2. กระบวนการขยายผลองค์ความรู้และวิธีจัดการเรียนการสอนของโครงการมีความเหมาะสมในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.47 จากคะแนนเต็ม 5) วิทยากรศูนย์ขยายผลกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย และครูโรงเรียนเครือข่าย มีเจตคติที่ดีต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.55 จากคะแนนเต็ม 5) โดยการพิจารณารายด้านพบว่าเจตคติที่ดีต่อ “คุณภาพวิทยากร” “เนื้อหาสาระและกิจกรรมการอบรม” “สื่อ/วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ และระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการอบรม” และ “การติดตามและกำกับดูแล” อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (คะแนนเฉลี่ย 4.42 ถึง 4.57 จากคะแนนเต็ม 5) 3) ประสิทธิผลของสื่อ/อุปกรณ์ที่ได้รับจากโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 4.52 จากคะแนนเต็ม 5) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้สอนและผู้เรียนหลังจากการใช้สื่อ/อุปกรณ์ที่จัดซื้อจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สอดคล้องเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

Article Details

How to Cite
แย้มรุ่ง ร., ตุลย์เมธาการ ม., ลังกา ว., ศกุนตนาค พ., เจริญสุข อ., สัจจพิบูล ศ., ศิระวงษ์ น., & โพธิ์ศรีทอง อ. (2023). ความสำเร็จของการขยายผลองค์ความรู้ทางวิชาการและวิธีจัดการเรียนการสอนไปยังโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: EVALUATION OF THE SUCCESS OF EXTENDING ACADEMIC KNOWLEDGE AND TEACHING METHODS TO UPPER SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 118–131. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15224
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2561). การวิจัยสถาบัน: เครื่องมือพัฒนาสถาบันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

Tarricone, P. & Luca, J. (2002). Successful teamwork: A case study, in Quality Conversations, Proceedings of the 25th HERDSA Annual Conference, Perth, Western Australia, 7-11 July 2002: pp 640.

Most read articles by the same author(s)

> >>