การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ THE DEVELOPMENT OF ONLINE LEARNING TO PROMOTE USING SKILLS OF DIGITAL TECHNOLOGY TO EDUCATION FOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN EDUCATION PROGRAMS SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY

Main Article Content

ศุภรัตน์ จามรมาน
นฤมล ศิระวงษ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 3) เพื่อศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 เอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 2 – 4 ที่เรียนในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า T-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ พบว่า มีประสิทธิภาพ 81.68/83.61 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ สรุปได้ว่า บทเรียนออนไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จากการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 75.78 และค่าเฉลี่ย 3.79)

Article Details

How to Cite
จามรมาน ศ., & ศิระวงษ์ น. (2023). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: THE DEVELOPMENT OF ONLINE LEARNING TO PROMOTE USING SKILLS OF DIGITAL TECHNOLOGY TO EDUCATION FOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN EDUCATION PROGRAMS SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 15–30. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15171
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

De Cecco, J. P. (1968). The psychology of learning and instruction: educational psychology. Englewood Cliffs, N. J.: Prentice-Hall.

กรมการศึกษานอกโรงเรียน ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา. (2547). การศึกษารูปแบบของ E-Learning ที่เหมาะสมกับการศึกษานอกโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2563, มกราคม – มีนาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1). 29 - 43.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์ = Creative educational media design. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คุรุสภา. (2563). กำหนดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 1. สืบค้นจาก https://www.ksp.or.th/ksp2018/2020/11/25005/.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ = E-Learning courseware : แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชมภูนุช พุฒิเนตร. (2563, กรกฎาคม - กันยายน). รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 17(1). 71 - 80.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิ่ง : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ = e-Learning : from theory to practice. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

นฤมล ศิระวงษ์. (2548). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์วิชาการเขียนหนังสือเพื่อการพิมพ์ในระดับอุดมศึกษา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

บงกช ทองเอี่ยม. (2561, มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยแบบไม่จํากัดรับ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 4(1). 291 - 302.

พระสาโรจน์ ธีรภทฺโท. (2561). การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการสอนศีลธรรมสำหรับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. (ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล. (2542). การสอนวิชาช่างอุตสาหกรรมวิธีสอนทักษะปฏิบัติ. กรุงเทพฯ ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียน e-Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สมาธิ นิลวิเศษ, และ ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2562, พฤศจิกายน - ธันวาคม). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 12(6), 2283-2299.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). Digital literacy. สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารในครัวเรื่อง พ.ศ.2561 (ไตรมาส 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อิทธิณัฐ ตันติวิทิตพงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะแบบผสมผสานโดยเน้นการเรียนรู้ในสถานการณ์จริงเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานสำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Most read articles by the same author(s)