การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อ ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู

Main Article Content

ศุภวรรณ สัจจพิบูล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นิสิตครู จำนวน 27 คน  อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 13 คน  ครูพี่เลี้ยงจากสถานศึกษาเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 18 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ คู่มือการใช้ระบบ EDSWU ONLINE แบบวัดสมรรถนะการนิเทศ แบบวัดสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แบบวัดเจตคติต่อกระบวนการนิเทศ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ Paired t-test และ One sample t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการนิเทศ และสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ หลักการ ประกอบด้วย  1) การกำหนดเป้าหมายการนิเทศตามสภาพจริง และการฝึกฝนทักษะจำเป็นที่ต้องการพัฒนา 2) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  3) การไตร่ตรองสะท้อนความคิดเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนิเทศ กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. ขั้นเตรียมการนิเทศ และ 2. ขั้นการนิเทศซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 2.1 ขั้นกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  2.2 ขั้นเสริมความรู้และทักษะก่อนการจัดการเรียนรู้ 2.3 ขั้นการสอนงานในชั้นเรียนจริง  2.4 ขั้นสืบสอบผลการจัด การเรียนรู้เพื่อการพัฒนา 2.5 ขั้นพัฒนาบทเรียน และ 2.6 ขั้นติดตามประเมินผล การประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินสมรรถนะการนิเทศ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ และเจตคติต่อกระบวนการนิเทศ ผลการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า อาจารย์นิเทศก์/ครูพี่เลี้ยงมีสมรรถนะการนิเทศหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  อาจารย์นิเทศก์ และครูพี่เลี้ยงมีเจตคติต่อกระบวนการนิเทศสูงกว่าเกณฑ์ระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นิสิตครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนิสิตครูมีเจตคติต่อกระบวนการนิเทศสูงกว่าเกณฑ์ ระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : รูปแบบการนิเทศ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ กระบวนการสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน การเรียนรู้แบบผสมผสาน ABSTRACT The purposes of this research were to 1) develop the teacher professional experience supervision model to enhance instructional competency for pre-service teacher. and 2) study the effect of the teacher professional experience supervision model. The sample were 27 pre-service teachers, 13 supervisors and 18 mentors. Research instruments  were the teacher professional experience supervision model manual, EDSWU ONLINE manual, supervision competency test,  learning management competency test, teaching practicum evaluation form, attitude towards supervision process test, and interview form. Data analysis by percentage, mean, standard deviation, Paired-t test, One sample t-test and Content Analysis.The research findings were the model has purpose to develop supervision competency, and learning management competency. The principles were; 1. identification authentic supervision goal and essential skill practice 2. Creation on learning community 3. Self- reflection on teaching and             4. Technology using in supervision. The supervision process consisted of two main steps were 1. Supervision preparation and 2. Six steps of supervision. The supervision steps were  1. Goal Setting 2. Pre-Training 3. Onsite coaching 4.Debriefing 5. Lesson developing and 6. Evaluating. The evaluation consisted of supervision competency evaluation, learning management competency evaluation and  attitude towards supervision process evaluation. The results on using the model, found that the supervisors and mentors had improved their supervision competency which was significantly higher than before experiment at 0.01. the supervisors and mentors had attitude towards supervision process which was significantly higher than the good level criteria at 0.01. The pre-service teachers had improved their learning management competency which was significantly higher than before experiment at 0.01 and the pre-service teachers had attitude towards supervision process which was significantly higher than the good level criteria at 0.01 Keywords : Supervision Model, Learning Management Competency, Coaching and Mentoring, Lesson Study, Blended Learning

Article Details

How to Cite
สัจจพิบูล ศ. (2017). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อ ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตครู. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/9206
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)