การจัดการเรียนรู้แบบการสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 CREATIVITY - BASE LEARNING MANAGEMENT FOR ENHANCING CREATIVITY IN DRAMATIC ARTS SUBJECTS OF PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS

Main Article Content

วิสาพร ฤกษ์ปฐมศักดิ์
ดวงใจ สีเขียว
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และศึกษาระดับพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ) สถิติทดสอบ ที  (t –test for Dependent Samples) และการวัดความเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ (Relative Change Score) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์วิชานาฏศิลป์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย  1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ  2) ขั้นการตั้งปัญหา 3) ขั้นค้นคว้าและคิด 4) ขั้นนำเสนอผลการศึกษาและ 5) ขั้นการประเมินผล ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ พบว่า คะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.77 และคะแนนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ16.73  โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 29.61, Sig. = <.001) ผลการศึกษาระดับพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ พบว่า นักเรียนมีพัฒนการอยู่ในระดับสูงมาก จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 53.34 นักเรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.33 และนักเรียนมีพัฒนาการอยู่ในระดับกลาง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.33 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ฤกษ์ปฐมศักดิ์ ว., สีเขียว ด., & โพธิ์ศรีทอง อ. (2023). การจัดการเรียนรู้แบบการสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: CREATIVITY - BASE LEARNING MANAGEMENT FOR ENHANCING CREATIVITY IN DRAMATIC ARTS SUBJECTS OF PRATHOMSUKSA 5 STUDENTS. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 31–40. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/15105
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Huang. (2019). Discovering the creative processes of students: Multi-way interactions among knowledge acquisition sharing and learning environment. Journal of Hospitality, Leisure, Sport & Tourism Education. (26), 1-14.

ปิ่นเกศ วัชรปาน. (2559). ตำราการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ภัทร อภิวัฒนกุล และณาคิน เหลืองนวล. (2558). "ความคิดสร้างสรรค์” ปัจจัยสร้างอำนาจต่อรองในเวทีโลก. https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/211741

โรบินสัน เคน. (2561). จะสร้างสรรค์ชีวิต ต้องคิดนอกกรอบ = Out of our minds : the power of being creative. (วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น

ล้วน สายยศ. (2528). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศึกษาพร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิว์งศ์.

วิพรพรรณ ศรีสุธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วิรัตน์ แก้วสุด. (2557). พัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้โดยบูรณาการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และทฤษฎีซินเน็คติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างสรรค์งานศิลปะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

วิรัตน์ เพชรศรี และ ดร.วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ของผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2).

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 1(2),

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). การวิเคราะห์พหุระดับ = Multi-level analtsis. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภพงษ์ ศิริมัย. (2562). การสอนแนวฐานการเรียนรู้จากงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ.

อัมพร เลิศณรงค์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนภาษาไทยโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน เรื่อง การเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Most read articles by the same author(s)