ผลของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคการวาดรูประบายสีเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคการวาดรูประบายสีที่ใช้ในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่นและความคิดละเอียดลออ โดยผู้วิจัยสร้างกิจกรรมขึ้นภายใต้ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ (the test for creative thinking-drawing production (TCT-DP)) ของเจลเลนและเออร์บัน (Jellen and Urban, 1989) จากการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัยได้พัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคการวาดรูประบายสีจำนวนทั้งสิ้น 10 กิจกรรม จากนั้นนำส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้แก่ อาจารย์สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ อาจารย์สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ อาจารย์สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็กและอาจารย์สาขาการออกแบบสร้างสรรค์ ตรวจสอบเพื่อดูประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม โดยผลจากตรวจสอบคุณภาพชุดกิจกรรม พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) ในภาพรวมของชุดกิจกรรมเท่ากับ 0.85 และเมื่อพิจารณาในแต่ละกิจกรรมมีค่า IOC เฉลี่ยอยู่ที่ 0.60-0.66 นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิยังเสนอแนะให้มีกิจกรรมปฐมนิเทศเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ของกลุ่มทดลองให้ใกล้เคียงกันและเพิ่มแบบสังเกตพฤติกรรมแบบรายกิจกรรมในขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมทำกิจกรรม เพื่อดูความสอดคล้องของพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์กับผลงานเมื่อสำเร็จแล้ว โดยจัดกิจกรรมเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 45 นาที รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง และจัดกลุ่มกิจกรรมตามลำดับความง่าย-ยากทางความคิดสร้างสรรค์และการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่าเด็กสามารถทำกิจกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ทั้งวัตถุประสงค์ กระบวนการ ระยะเวลาและมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้น จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคการดวารูประบายสีที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยได้ คำสำคัญ: ความคิดสร้างสรรค์ เด็กปฐมวัย การวาดรูประบายสี ABSTRACT The purpose of this research was studying the result of creative art by using drawing and coloring techniques for enhancing creative thinking skill in early childhood including four base elements that is originality, fluency, flexibility and elaboration. By developing a program under Guilford’s Structure of Intellect Model, Cognitive Theory of Piaget and Test for creative thinking-drawing production (TCT-DP) of Jellen and Urban (1989). Based on a review of the literature, the researchers have developed techniques of drawing and coloring program total 10 activities. After that, the researcher sent the program to five specialists (Developmental Psychologists, Applied Behavior Researcher, Professor of Children's literature and Creative industry’s professor) for examine the efficiency of program. The results of the study showed that the overall IOC value of the program was 0.85, and when considered in each activity, the average IOC was 0.60-0.66 Moreover, the specialists recommended the program that should have the orientation activity for preparation of experimental group’s knowledge and the behavior observation form for recheck actions that refer to qualified of creative thinking person while children were doing activity supplement an artwork. For a period of time 4 weeks, 5 days per week and 45 mins. For each activity sequentially easy to harder about creative thinking, imagination and production work, total 20 times. From the result, children were able to do the activities. In terms of the drawing and coloring process, time, objective and higher score of creative thinking. Finally, the results show the effectiveness of creative art by using drawing and coloring techniques are able to improve creative thinking in primary childhood Keywords: Creative Thinking, Primary Childhood, Drawing and Coloring
Article Details
How to Cite
ตั้งพิทักษ์ไพบูลย์ อ., ลี้ศัตรูพ่าย ช., & เพียซ้าย ภ. (2020). ผลของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคการวาดรูประบายสีเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/article/view/13238
Section
บทความวิจัย (Research Articles)