การออกแบบอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2542-2554

Main Article Content

จิราพร บานลา
อารีย์ ชื่นวัฒนา
พวา พันธุ์เมฆา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อองค์ประกอบและบทบาทในการออกแบบอาคารห้องสมุดของผู้บริหารห้องสมุด ระหว่าง พ.ศ. 2542-2554 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารห้องสมุดที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 18 คน และให้การสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 184 คน และผู้ใช้บริการ จำนวน 432 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า F-test ผลการวิจัย พบว่า 1) เหตุผลที่ผู้บริหารห้องสมุดใช้ในการพิจารณาเพื่อสร้างอาคารห้องสมุดหลังใหม่โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารห้องสมุดมีบทบาทการมีส่วนร่วมในการก่อสร้างอาคารห้องสมุดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผู้บริหารห้องสมุดคำนึงถึงองค์ประกอบในการออกแบบอาคารห้องสมุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) สภาพของอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่สำรวจพบ ส่วนใหญ่มีลักษณะ คือมีห้องประชุมกลุ่มย่อย ห้องประชุมขนาดใหญ่ ห้องบริการชมภาพยนตร์ ห้องบริการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ บริการร้านอาหารและเครื่องดื่ม บริการถ่ายเอกสาร บริการเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องบริการยืม-คืนอัตโนมัติลิฟต์โดยสาร เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น OPAC และบริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย 5) ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของสภาพอาคารห้องสมุดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 6) ผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของสภาพอาคารห้องสมุดโดยรวมอยู่ในระดับมาก 7) ผู้บริหารห้องสมุด ผู้ใช้บริการห้องสมุดและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของการออกแบบอาคารห้องสมุด โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บานลา จ., ชื่นวัฒนา อ., & พันธุ์เมฆา พ. (2013). การออกแบบอาคารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2542-2554. บรรณศาสตร์ มศว, 5(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/3025
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)

<< < 1 2 3