บรรณาธิการ
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยเพิ่งมีกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Information privacy law) โดยราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ประกาศ “พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562” มาตรา 6 นิยาม “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง“ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ” โดยพระราชบัญญัตินี้ ว่าด้วยการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 26 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิ ประกอบด้วย 96 มาตรา ว่าด้วยนิยาม บทบาท สิทธิและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง และบทลงโทษทั้งทางแพ่ง อาญาและปกครอง ตั้งแต่ตักเตือน จำคุกและปรับข้อมูลส่วนบุคคลมีขอบเขตกว้างขวางมาก เช่น ข้อมูลส่วนตัว ชีวิตครอบครัว การทำงานข้อมูลทางธุรกิจ ความคิดเห็นที่ระบุในแบบฟอร์มเฉพาะกิจ หนังสือรับรอง (Recommendation) ข้อมูลการเงิน/เครดิต ข้อมูลทางการแพทย์ รสนิยมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม เป็นต้น ผู้ที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งมาตรา 6 ให้ความหมายว่า “บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล”ห้องสมุดหรือองค์กรสารสนเทศที่มีการจัดเก็บข้อมูลและธุรกรรมต่าง ๆ ของสมาชิก ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัตินี้เพื่อมิให้เกิดการละเมิดกฎหมายดังกล่าว จากการสำรวจโครงการ Privacy in the Digital Library Environment ของมหาวิทยาลัย Loughborough ประเทศสหราชอาณาจักรระหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ. 2002 พบว่า ผู้ใช้ห้องสมุดมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวในการใช้ห้องสมุดน้อยมาก เนื่องจากเชื่อมั่นว่าห้องสมุดจะไม่นำข้อมูลส่วนตัวของเขาไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ในขณะที่ห้องสมุดไม่เคยมีมาตรการใด ๆ ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้2 งานวิจัยนี้สำรวจกว่าสิบห้าปีแล้ว ซึ่งการใช้ห้องสมุดออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายนัก จึงเป็นที่น่าสนใจว่าปัจจุบันผู้ใช้ยังคงไว้วางใจห้องสมุดเช่นนี้อีกหรือไม่ และห้องสมุดมีการปรับปรุงมาตรการปกป้องข้อมูลผู้ใช้อย่างไร
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
-, .-. (2019). บรรณาธิการ. บรรณศาสตร์ มศว, 12(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12232
Section
Editorial