บรรณาธิการ

Main Article Content

- -

Abstract

วารสารบรรณศาสตร์ มศว ฉบับที่ 2 ของปีออกในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนมงคลและเป็นเดือนแห่งความสุข เนื่องจากเป็นเดือนราชสมภพขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นมิ่งขวัญและที่รักยิ่งของพสกนิกรชาวไทย และเป็นเดือนสิ้นสุดของปีในการเริ่มต้นปีใหม่ ทุกแห่งหนมีการประดับประดาโคมไฟแสง สี เสียง เต็มไปด้วยความสุข ความหวัง และการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ในปีใหม่ 2558เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยประกาศค่าปัจจัยกระทบ (Impact factor) ของวารสารทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยวิเคราะห์ความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสาร ตั้งแต่ปี 2554-2556 ซึ่งวารสารบรรณศาสตร์ มศว มีค่าปัจจัยกระทบค่อนข้างสูงในกลุ่มวารสารวิชาการสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ นับว่าเป็นความภูมิใจของกองบรรณาธิการและภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นอย่างยิ่งที่วารสารได้รับความเชื่อถือในการนำไปใช้อ้างอิงในผลงานวิชาการต่าง ๆ เนื่องจากปัจจัยกระทบจัดว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการประเมินคุณภาพ เปรียบเทียบ และจัดอันดับวารสาร รวมทั้งประเมินคุณภาพของสถาบันผู้จัดทำ วารสารหรือนักวิจัยของสถาบันปัจจัยกระทบ คิดค้นโดย ดร. ยูยีน การ์ฟิลด์ (Eugene Garfield) ผู้ก่อตั้ง สถาบันสารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Institute for Scientific Information: ISI) ซึ่งปัจจุบันเป็นแผนก Thomson Scientificของบริษัท Thomson Reuters ซึ่งจะคำนวณหาปัจจัยผลกระทบการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ที่บริษัท Thomson Reuters เป็นผู้จัดทำดัชนีประจำทุกปี และนำผลการประเมินตีพิมพ์ใน “รายงานการอ้างอิงเอกสารวิชาการ (Journal Citation Reports)”1 จนกลายเป็นแบบอย่างและใช้ในวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้วย การคำนวณปัจจัยกระทบกระทำโดยการหาค่าความถี่ของการอ้างอิงในแต่ละปีหรือหลายปี หารด้วยจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้การประเมินคุณภาพวารสารกระทำได้โดยการคำนวณค่าดัชนีข้างเคียง (Immediacy index) คือ ตัวเลขเฉลี่ยการอ้างอิงของบทความวิชาการในปีนั้น ๆ และวาระครึ่งชีวิตของวารสารที่ได้รับการอ้างอิง (Cited half-life) คือ อายุช่วงกึ่งกลางของบทความที่ถูกอ้างอิงในรายงานการอ้างอิงวารสารวิชาการในแต่ละปีวารสารบรรณศาสตร์ มศว ต้องขอขอบพระคุณผู้เขียนทุกท่าน ที่สร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณภาพส่งมาตีพิมพ์ ตลอดจนผู้อ่านที่นำความรู้จากบทความไปใช้ประโยชน์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมผลักดันการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานวิชาการแก่วงการบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ รวมทั้งสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
-, .-. (2014). บรรณาธิการ. บรรณศาสตร์ มศว, 7(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12228
Section
Editorial