บรรณาธิการ

Main Article Content

- -

Abstract

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ TCI จัดให้มีการประชุมเพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพวารสารวิชาการไทย ครั้งที่ 8 “TCI Broadening University Engagement”ผู้ร่วมการประชุม ได้แก่ บรรณาธิการวารสารวิชาการในประเทศไทยที่มีชื่อวารสารอยู่ในฐานข้อมูลของ TCI และผู้ที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญในการประชุม ได้แก่ เกณฑ์การประเมินวารสารไทยสู่ฐานข้อมูล SCOPUS การจัดทำฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) และกิจกรรมอื่น ๆ ของ TCI ซึ่งล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมของวารสารไทยสู่สากล ปัจจุบันวารสารไทยหลายฉบับมีการเผยแพร่บทความบนเว็บไซต์ จำนวนมากขึ้น จึงมีการแนะนำการใช้ DOI (Digital Object Identifier) ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำนี้ว่า “ตัวระบุวัตถุดิจิทัล” สำหรับใช้เพื่อกำหนดตัวตนของบทความดิจิทัลดังกล่าวตัวระบุวัตถุดิจิทัล คือ รหัสสากลที่ใช้ระบุตัวเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่อยู่หรือ URL ของเอกสารนั้น โดยใช้เป็นรหัสแทนเอกสารดิจิทัลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ทำนองเดียวกันกับหมายเลข ISBN หรือ ISSN ที่ใช้ระบุตัวเล่มเอกสารที่เป็นสิ่งพิมพ์ DOI กำหนดโดยมูลนิธิการระบุวัตถุดิจิทัลสากล (International DOI Foundation: IDF) และปัจจุบันได้รับมาตรฐานสากล ISO 26324:2012 ด้านระบบสารสนเทศและเอกสาร (Information and documentation)หน่วยงานที่เป็นตัวแทนในการบริหารรหัส DOI ในประเทศไทย คือ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติรหัส DOI ขึ้นต้นด้วยเลข 10 เสมอและตามด้วยหมายเลขประจำองค์กรที่เป็นสมาชิก ในส่วนต้นนี้เรียกว่า Prefix ถัดมาเรียกว่า Suffix ใช้ระบุตัวตนของทรัพยากรดิจิทัลนั้น ตัวอย่างเช่น 10.1016/j.acalib.2014.02.001 เป็นต้น ซึ่งสามารถสืบค้นได้โดยผ่าน Google Scholar และเว็บไซต์อื่นที่ให้บริการ โดยพิมพ์รหัส DOI ก็จะพบรายการเอกสารที่ต้องการ ทั้งนี้จะต้องเป็นเอกสารที่เผยแพร่แล้วเท่านั้น หากเป็นเอกสารที่สำนักพิมพ์จำหน่ายหรือยังไม่เผยแพร่ก็จะไม่ปรากฏ ดังนั้นผู้เขียนหรือผู้ผลิตผลงานที่ต้องการเผยแพร่ชิ้นงานของตนบนอินเทอร์เน็ต จำเป็นต้องขอรหัส DOI นอกเหนือจากการขอหมายเลข ISBN หรือ ISSN หลายคนอาจคิดว่ายุ่งยาก แต่เมื่อพิจารณาประโยชน์ของ DOI แล้วจะพบว่ามีประโยชน์ด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่เจ้าของผลงานและอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ส่วนผู้อ่านก็มีความสะดวกในการเข้าถึงผลงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการวารสารบรรณศาสตร์ มศว ฉบับนี้เช่นเดียวกับฉบับอื่นที่เผยแพร่บทความบนเว็บไซต์ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นและอ่านบทความทั้งที่เป็นฉบับปัจจุบันและย้อนหลังได้ และคาดว่าในอนาคตจะมีการใช้รหัส DOI กำกับบทความดิจิทัลของวารสาร ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เขียนในการผลักดันให้วารสารไทยสู่สากล ดังจุดมุ่งหมายของการพัฒนาวารสารไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
-, .-. (2014). บรรณาธิการ. บรรณศาสตร์ มศว, 7(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/12227
Section
Editorial