ประสบการณ์ความเครียดที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่อง ของนักศึกษาปริญญาตรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาประสบการณ์ความเครียดที่มีความสัมพันธ์และสามารถทำนายการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่องของนักศึกษา โดยใช้แบบสำรวจประสบการณ์ชีวิตนักศึกษา และแบบวัดการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่อง - ฉบับสั้น เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 392 คน ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า 1) ประสบการณ์ความเครียดด้านความท้าทายเกี่ยวกับการพัฒนามีความสัมพันธ์สูงที่สุดกับการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่องของนักศึกษา (r = .61) และ 2) ประสบการณ์ความเครียดด้านความท้าทายเกี่ยวกับการพัฒนา ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อน ความรำคาญเกี่ยวกับเรื่องจิปาถะ การปฏิบัติไม่เหมาะสมเกี่ยวกับสังคมทั่วไป และความแปลกแยกเกี่ยวกับการศึกษา มีความสัมพันธ์เชิงทำนายอย่างมีนัยสำคัญกับการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่องของนักศึกษา โดยประสบการณ์ความเครียดเหล่านี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่องได้ร้อยละ 50 (R2 = .50) นอกจากนี้จากการทบทวนวรรณกรรมยังพบว่ามีหลายวิธีการที่สามารถนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยนักศึกษาลดผลของประสบการณ์ความเครียดบางด้านในชีวิตมหาวิทยาลัย คำสำคัญ : ประสบการณ์ความเครียด, การทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่อง ABSTRACT This research aims to examine stressful experiences that correlate and predict executive function deficits of students. By using Inventory of College Students’ Recent Life Experiences and Deficits in Executive Functioning Scale - Short Form. Data was collected from 392 undergraduate students at Nakhon Ratchasima Rajabhat University in the second semester of the academic year 2016. The data were analyzed by Stepwise Multiple Regression Analysis. Research determined that 1) Developmental Challenge was the highest correlated stressful experiences with executive function deficits of students (r = .61) and 2) Developmental Challenge, Friendship Problems, Assorted Annoyances, General Social Mistreatment, and Academic Alienation demonstrated significant predictive relationships with executive function deficits of students, these stressful experiences could describe the variation of executive function deficits at 50% (R2 = .50). In addition, from the literature review, it was discovered that several interventions could be employed in universities to help students minimize the effects of specific stressful experiences in their university life. Keywords : Stressful experiences, Executive function deficits, Undergraduate students
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ไทยธานี ป. (2017). ประสบการณ์ความเครียดที่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่บริหารในสมองบกพร่อง ของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9872
Section
บทความวิจัย (Research Articles)