รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้าง ทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

อลิศรา เพชระ
ไกรเดช ไกรสกุล
สืบพงศ์ ธรรมชาติ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการคิดวิเคราะห์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้  กระบวนการวิจัยใช้วิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ผลการวิจัยพบว่า  1. ปัญหาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเกิดจากความเชื่อที่มีมาแต่เดิม หลักสูตร ตัวครูวิธีการสอนแบบเดิม ๆ ของครู ตลอดทั้งสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอนที่ไม่เอื้อให้เด็กเกิดการคิดวิเคราะห์   2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 8  องค์ประกอบคือ 1) การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  3) การกำหนดเนื้อหา 4) การกำหนดสื่อสื่อและวิธีการสอน 5) การวิเคราะห์ผู้เรียน/จัดกลุ่มผู้เรียน 6) การดำเนินการจัดกิจกรรม 7) การวัดผลหลังเรียน และ8) การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ/ปรับปรุงแก้ไข ซึ่งในองค์ประกอบที่ 6มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ALISARA STEP  7 ขั้นตอนคือ 1) สร้างความสนใจ (Attention) 2) เสนอเนื้อหาใหม่ (Learning new content) 3) ร่วมใจวิพากษ์/หลากหลายความคิด (Ideas) 4) สำรวจตรวจสอบ (Survey) 5) ประยุกต์ใช้   (Applied) 6) ครวญใคร่ทบทวน (Review)  และ 7) ประมวลผลลัพธ์  (Aggregate) 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ:    ปัญหาการคิดวิเคราะห์ เพลงกล่อมเด็กภาคใต้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์ ALISARA STEP ABSTRACT   The objectives of this research are to 1) study problems of high school students’ analytical thinking skill, 2) develop the critical model of southern children’s lullaby for high school students’ analytical thinking skill development, and 3) study the effectiveness of the critical model of southern children’s lullaby for high school students’ analytical thinking skill development. The samples of this study were 30 high school students of RonphiboonKietwasun tharapiwat, the Office of Secondary Educational Service Area 12. The data were collected by 1) a lesson plan of analytical thinking skill, 2) an achievement test of analytical thinking skill, and 3) a students’ satisfaction form of using the critical model. Qualitative and quantitative methods were implemented. The results indicated that 1) The students’ problems of analytical thinking skills were because of teachers’ traditional teaching style, old beliefs, curriculums, and classroom environment.The components of the critical model of southern children’s lullaby for high school students’ analytical thinking skill development consisted of 8 elements. They were 1) learning goal setting, 2) The components of the critical model of southern children’s lullaby for high school students’ analytical thinking skill development consisted of 8 elements. They were 1) learning goal setting, 2) goal setting of analytical thinking improvement, 3) content setting, 4) materials and teaching style, 5) learners grouping analysis, 6) activity operation, 7) evaluation after studying, and 8) retroactive effect analysis/revision. Moreover, AlISARA’S 7 steps were 1) attention, 2) learning and presenting new content, 3) idea criticism, 4) survey and inspection, 5) application, 6) review, and 7) data processing. 3) The posttest score of analytical thinking skill was higher than the pretest score that was significantly different at 0.01 levels. Keywords:   Analytical Thinking Problem, Southern Children’s Lullaby, the Critical Model, AlISARA STEP

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เพชระ อ., ไกรสกุล ไ., & ธรรมชาติ ส. (2017). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้าง ทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9170
Section
บทความวิจัย (Research Articles)