การศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน เพื่อพัฒนาบทปฏิบัติการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ 1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการลดปริมาณสารอินทรีย์ ที่อยู่ในรูปของสารละลาย และอนุภาคแขวนลอย 2) เพื่อพัฒนาบทปฏิบัติการเรื่อง การบำบัดน้ำเสีย ให้มีคุณภาพในระดับดี และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนจากการเรียนด้วยบทปฏิบัติการ เรื่อง การบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัด น้ำเสียใช้โรงบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นสถานที่ทำการศึกษาโดยวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียตามค่าพารามิเตอร์ คือ ความเป็นกรด-ด่าง บีโอดี ซีโอดี น้ำมันและไขมัน และของแข็งแขวนลอย เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง จากอาคาร กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2537
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดมีค่าเฉลี่ยตามค่าพารามิเตอร์ที่ศึกษา คือ ความเป็นกรด-ด่าง บีโอดี ซีโอดี น้ำมันและไขมัน และของแข็งแขวนลอย เท่ากับ 7.34, 330.04 มก./ล., 575.00 มก./ล., 18.46 มก./ล., และ 97.09 มก./ล. ตามลำดับ โดยค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าน้ำมันและไขมัน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนค่าบีโอดี ค่าซีโอดี และค่าของแข็งแขวนลอย ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดการทดลองสอน ใช้บทปฏิบัติการกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบจัดกลุ่ม เรียนด้วยบทปฏิบัติการ 5 บท คือ 1) การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น 2) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางกายภาพ 3) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางเคมี 4) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีวภาพ และ 5) การปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ผลการวิจัยพบว่า บทปฏิบัติการเรื่อง การบำบัดน้ำเสียที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและมีประสิทธิภาพ 80.26/80.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลการทดลองใช้บทปฏิบัติการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 83.88 มากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดมีค่าเฉลี่ยตามค่าพารามิเตอร์ที่ศึกษา คือ ความเป็นกรด-ด่าง บีโอดี ซีโอดี น้ำมันและไขมัน และของแข็งแขวนลอย เท่ากับ 7.34, 330.04 มก./ล., 575.00 มก./ล., 18.46 มก./ล., และ 97.09 มก./ล. ตามลำดับ โดยค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าน้ำมันและไขมัน เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนค่าบีโอดี ค่าซีโอดี และค่าของแข็งแขวนลอย ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดการทดลองสอน ใช้บทปฏิบัติการกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบจัดกลุ่ม เรียนด้วยบทปฏิบัติการ 5 บท คือ 1) การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น 2) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางกายภาพ 3) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางเคมี 4) การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีวภาพ และ 5) การปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ผลการวิจัยพบว่า บทปฏิบัติการเรื่อง การบำบัดน้ำเสียที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากและมีประสิทธิภาพ 80.26/80.71 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลการทดลองใช้บทปฏิบัติการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 83.88 มากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ทิพจ้อย ว., ทองปาน อ. ด., & ใจดีเฉย อ. ส. (2009). การศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน เพื่อพัฒนาบทปฏิบัติการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/841
Section
บทความวิจัย (Research Articles)