ผลของการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศศิมา อินทนะ
รองศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ
อาจารย์ชวลิต รวยอาจิณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลองโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยทำการศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริง ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การจัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้และ ระยะที่ 2การจัดกิจกรรมตามความสนใจ ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนวัดเปาโรหิตย์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบบแผนการวิจัยเป็นแบบ One-Group Time Series Design โดยดำเนินการทดลองสองระยะ แต่ละระยะ ใช้เวลา 5 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.789 และแบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำ การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมโดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านตามทฤษฎีของเวียร์ แบบสะท้อนตนเองของนักเรียนเกี่ยวกับโครงงาน แบบสะท้อนความคิดเห็นของเพื่อนนักเรียนเกี่ยวกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และแบบประเมินแฟ้มสะสมงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบมีหนึ่งตัวประกอบแบบวัดซ้ำ (One-way Analysis of Variance: Repeated measures) ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้กิจกรรมการเรียนโดยการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริง ทั้งในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น โดยพิจารณาจากแบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และแบบประเมินแฟ้มสะสมงาน 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริงสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริงมีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นตามระยะเวลาจากการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ในระยะที่ 1 สู่การจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ในระยะที่ 2 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อินทนะ ศ., วงศ์รัตนะ ร., & รวยอาจิณ อ. (2009). ผลของการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 10(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/838
Section
บทความวิจัย (Research Articles)