การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ
ปรเมศวร์ ศรีปา
ดรุณ มินาคูณ
สุดารัตน์ แจงทอง
วิชชุลาภา แดงสีดา
ลัดดาวัลย์ ด้วงภู่ทิม
ลำเจียก สุวรรณมณี

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อหาคุณภาพรายข้อ คือ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และค่าพารามิเตอร์ ของข้อคาถามในแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน 2) เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน 3) เพื่อแสดงความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน ประชากรเป็นนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 ของโรงเรียนประถมศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จานวน 2,552 คน กลุ่มตัวอย่าง จานวน 600 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดของมาร์ซาโน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ ประกอบด้วยความคิด 5 ด้าน คือ ด้านการจับคู่ ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ด้านการสรุปเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป และด้านการสรุปเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ในการหาค่าพารามิเตอร์ของข้อคาถาม คือ ค่าความยาก (b) ค่าอานาจจาแนก (a) และค่าการเดา (c) วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MULTILOG ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบ คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของคูเดอร์และริชาร์ดสัน (KR-20) วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows และยืนยันความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน คือ ค่าไค-สแควร์(2) ค่าองศาความเป็นอิสระ (df) ค่าความน่าจะเป็น (p) ค่าดัชนีความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) ค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน (TLI) และดัชนีรากกาลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Mplus วิธีการประมาณ ค่าแบบ WLSMผลการวิจัย พบว่า1. แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ผลการวิเคราะห์พบว่าข้อคาถามทั้ง 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.71-1.00 ทุกข้อ มีค่าพารามิเตอร์ของข้อคาถาม เป็นดังนี้คือค่า ความยาก (b) อยู่ระหว่าง -4.67 ถึง 4.67 ค่าอานาจจาแนก (a) อยู่ระหว่าง -0.09 ถึง 2.28 และค่าการเดา (c) อยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 0.31 2. แบบทดสอบมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (KR-20) หลังจากคัดเลือกข้อคาถามที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ จานวน 22 ข้อแล้ว มีค่าเท่ากับ 0.763. ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง พบว่า มีค่าไค-สแควร์(Chi-Square) เท่ากับ 236.307 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 118 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.059 ค่าดัชนีความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.955 ค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน (TLI) เท่ากับ 0.961 และดัชนีรากกาลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.041คำสำคัญ: ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์, การจัดระบบของมาร์ซาโน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ใบกุหลาบ ป., ศรีปา ป., มินาคูณ ด., แจงทอง ส., แดงสีดา ว., ด้วงภู่ทิม ล., & สุวรรณมณี ล. (2016). การสร้างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/7246
Section
บทความวิจัย (Research Articles)