การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจัยที่เหมาะสมในการพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน และสร้างสมการพยากรณ์ความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2553 จากการเทียบตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาค่าเฉลี่ยของประชากร (R.V. Krejcie and D.W. Morgan, 1970) จะได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multi-stage Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณผลการวิจัยพบว่า1. การวิเคราะห์ระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี พบว่าในภาพรวมส่วนใหญ่มีระดับความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 73.20 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเก่ง มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.53 รองลงมาคือ ด้านสุข มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 49.86 และน้อยที่สุด คือ ด้านดี มีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 41.102. ปัจจัยทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านปัจจัยส่วนบุคคล 3 ปัจจัย คือ เพศ (X1) ลำดับที่เกิด (X2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและปัจจัยด้านโรงเรียน 4 ปัจจัย คือ พฤติกรรมของผู้สอน (X4) ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน (X5) บรรยากาศในชั้นเรียน (X6) และกิจกรรมการเรียนการสอน (X7) ตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางที่สถิติที่ .01 มีทั้งหมด 4 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยส่วนบุคคล : เพศ (X1 ),ปัจจัยด้านโรงเรียน : ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน (X5), กิจกรรมการเรียนการสอน (X7 ) และปัจจัยส่วนบุคคล : ลำดับที่เกิด(X2)4. สมการณ์พยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้Y = 3.30 + 0.10X1 + 0.11X5+ 0.10 X7 + 0.02X2Zy = 0.29 X1 + 0.18 X5 + 0.15 X7 + 0.11X2คำสำคัญ : ความฉลาดทางอารมณ์ ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน พฤติกรรมของครู
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
อุไทยธุราทร ม., สัตย์เพริศพราย ศ., & เมฆกมล อ. (2015). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6725
Section
บทความวิจัย (Research Articles)