รูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาความต้องการการศึกษาหลังเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือนไทย และสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทยตลอดถึงเพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุดังกล่าวขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทฤษฎีแนวคิด ผลงานการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงาน ความ
ต้องการการศึกษาหลังเกษียณอายุ ตลอดจนรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุทั้งในแง่ของแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการดำเนินงานจัดการศึกษาในทางปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้ามาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อสร้างร่างรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำ หรับข้าราชการพลเรือนไทย และจัดทำ เป็นแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบที่สร้างขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง ถูกต้อง ชัดเจน ของเนื้อหาและนำไปทดลองใช้กับข้าราชการเกษียณอายุกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด 3 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ที่เกษียณอายุ
ราชการในปีงบประมาณ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 192 คน ที่มีต่อความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบที่สร้างขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการตรวจสอบร่างรูปแบบที่ 2 โดยดำเนินการจัดการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) กับ
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบที่นำเสนอ คือ ร่างรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากการสนทนากลุ่มนำมาปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย ฉบับสมบูรณ์สำหรับผลการวิจัยดังกล่าว สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้าราชการพลเรือนไทยมีความต้องการการศึกษาหลังเกษียณอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย มีองค์ประกอบสำคัญด้วยกัน 5ส่วน คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ/แนวคิด องค์ประกอบที่ 2เป้าหมายการจัดการศึกษา องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาสาระสำคัญ องค์ประกอบที่ 4 แนวทางและวิธีการจัดการศึกษา และองค์ประกอบที่ 5 การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
3. องค์ประกอบที่ 1 หลักการ/แนวคิดของรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย โดยหลักก็คือ การศึกษามีความจำเป็น เป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และช่วยเพิ่มพูนศักยภาพและพัฒนาการตามวัย
4. องค์ประกอบที่ 2 เป้าหมายในการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย โดยหลักก็คือ เพื่อช่วยให้มีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ขณะเดียวกันจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า สามารถช่วยเหลือสังคมและใช้เวลาหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข
5. องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาสาระสำคัญในการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย ควรเป็นองค์ประกอบเพื่อส่งเสริมด้านร่างกาย จิตใจ ช่วยในการปรับตัว เชิงเศรษฐกิจและสังคมและตามทันการเปลี่ยนแปลงได้
6. องค์ประกอบที่ 4 แนวทางและวิธีการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทยควรเป็นการศึกษาในรูปแบบของการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย โดยมีการจัดการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยร่วมกันระหว่างองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ
7. องค์ประกอบที่ 5 การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย ควรมีการติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย มีความครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญ มีการประเมินก่อน-หลังเรียน และควรมีความต่อเนื่องในการติดตามผลด้วย
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทฤษฎีแนวคิด ผลงานการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับการเกษียณอายุการทำงาน ความ
ต้องการการศึกษาหลังเกษียณอายุ ตลอดจนรูปแบบแนวทางการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุทั้งในแง่ของแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการดำเนินงานจัดการศึกษาในทางปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้ามาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อสร้างร่างรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำ หรับข้าราชการพลเรือนไทย และจัดทำ เป็นแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบที่สร้างขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้วไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน เพื่อพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรง ถูกต้อง ชัดเจน ของเนื้อหาและนำไปทดลองใช้กับข้าราชการเกษียณอายุกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ โดยสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัด 3 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ที่เกษียณอายุ
ราชการในปีงบประมาณ 2547 จำนวนทั้งสิ้น 192 คน ที่มีต่อความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบที่สร้างขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการตรวจสอบร่างรูปแบบที่ 2 โดยดำเนินการจัดการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus Group) กับ
ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบที่นำเสนอ คือ ร่างรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย
ขั้นตอนที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจากการสนทนากลุ่มนำมาปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย ฉบับสมบูรณ์สำหรับผลการวิจัยดังกล่าว สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ข้าราชการพลเรือนไทยมีความต้องการการศึกษาหลังเกษียณอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย มีองค์ประกอบสำคัญด้วยกัน 5ส่วน คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ/แนวคิด องค์ประกอบที่ 2เป้าหมายการจัดการศึกษา องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาสาระสำคัญ องค์ประกอบที่ 4 แนวทางและวิธีการจัดการศึกษา และองค์ประกอบที่ 5 การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
3. องค์ประกอบที่ 1 หลักการ/แนวคิดของรูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย โดยหลักก็คือ การศึกษามีความจำเป็น เป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ และช่วยเพิ่มพูนศักยภาพและพัฒนาการตามวัย
4. องค์ประกอบที่ 2 เป้าหมายในการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย โดยหลักก็คือ เพื่อช่วยให้มีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ขณะเดียวกันจะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า สามารถช่วยเหลือสังคมและใช้เวลาหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข
5. องค์ประกอบที่ 3 เนื้อหาสาระสำคัญในการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย ควรเป็นองค์ประกอบเพื่อส่งเสริมด้านร่างกาย จิตใจ ช่วยในการปรับตัว เชิงเศรษฐกิจและสังคมและตามทันการเปลี่ยนแปลงได้
6. องค์ประกอบที่ 4 แนวทางและวิธีการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทยควรเป็นการศึกษาในรูปแบบของการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย โดยมีการจัดการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยร่วมกันระหว่างองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ
7. องค์ประกอบที่ 5 การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย ควรมีการติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย มีความครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญ มีการประเมินก่อน-หลังเรียน และควรมีความต่อเนื่องในการติดตามผลด้วย
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
สุขสมเพียร ว. น., วิมลวัตรเวที ร. ธ., ประจนปัจจนึก ร. เ., & รักษ์เผ่า ด. ล. (2009). รูปแบบการจัดการศึกษาหลังเกษียณอายุสำหรับข้าราชการพลเรือนไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/558
Section
บทความวิจัย (Research Articles)