หลักการ และแนวทาง การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง

Main Article Content

สมศรี ตรีทิเพนทร์

Abstract

 การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) ได้ทวีความสำคัญมากขึ้นในระดับสากลและมีความสำคัญต่อระบบการจัดการศึกษาในปัจจุบัน หลายประเทศได้กำหนดเป็นนโยบายในแผนการศึกษาชาติ อันมีที่มาจากปรัชญาและแนวคิดสำคัญ ด้านมนุษยนิยม สิทธิ และความเสมอภาค ในการอยู่ร่วมกันของเด็กให้ได้รับการจัดการศึกษาอย่างเหมาะสม รัฐจึงต้องถือเป็นหน้าที่ในการจัดการศึกษาแก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีนโยบายให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กทุกคนให้ได้รับสิทธิและความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครอบคลุมถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ที่มีลักษณะความบกพร่องทุกประเภทด้วยเช่นกันในโอกาสที่ข้าพเจ้าและคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ระดับประถมศึกษา ณ  เมืองฮ่องกง คือ Our Lady of China Catholic Primary School ซึ่งมีนโยบายจัดให้เด็กที่มีความบกพร่องแตกต่างหลายประเภทเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ และ Hong Chi Tsui LamMorninghill School โรงเรียนการศึกษาพิเศษในเครือข่าย ที่ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นในการจัดการศึกษาแก่เด็กพิเศษ อาทิ ให้ความรู้  คำปรึกษาแก่ครู และผู้ปกครอง เพื่อเตรียมเด็กพิเศษก่อนเข้าเรียน สื่อ อุปกรณ์ ในการสอน และติดตามผลในระยะแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนปกติ รวมทั้งได้ศึกษา เยี่ยมชม คณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education) ของมหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง (The University of Hong Kong: HKU) ที่มีบทบาทสำคัญด้านการศึกษาวิจัย และพัฒนาการจัดการศึกษาในเมืองฮ่องกงร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการโรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนมีโอกาส สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งกล่าวได้ว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในฮ่องกงเป็นระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญเช่นเดียวกับหลายๆประเทศที่กำลังมีการเคลื่อนไหว และมองหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ขณะที่หลายประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเริ่มต้นพร้อม ๆ กับความขัดแย้ง       บทความนี้ จึงมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอความรู้ที่ได้รับจากแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ตามบริบทของเมืองฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน รวมทั้งนำเสนอความหมาย ความเป็นมาของการจัดการเรียนรวมข้อคิดและทัศนะบางประการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ของการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แก่ผู้สนใจในบทความนี้ด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ตรีทิเพนทร์ ส. (2009). หลักการ และแนวทาง การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 5(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/501
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)