การพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

Main Article Content

อาจารย์สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้วยการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษา ประสิทธิผลของโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้และปรับปรุงโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างเครื่องมือคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ที่ได้จากการคัดกรองเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยแบบสำรวจปัญหาทางการเรียนรู้จำนวน 199 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์ การประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์ และการทดสอบการ รับรู้ความสามารถตนเองด้านคณิตศาสตร์ เป็นนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3เลือกมาโดยวิธีเจาะจง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด คือ แบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ แบบประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนด้านคณิตศาสตร์ และแผนการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติคำนวณ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ สถิติทดสอบThe Wilcoxon Matched – Pairs Signed – Rank Test และสถิติวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือวัดผลการศึกษา1. โปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย(1) แบบคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 (2) แผนการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 2 และ 3 ด้านการจำแนกทางสายตา การนับ การแทนค่าประจำหลัก การบวก การลบ และการแก้โจทย์ปัญหา (3)แบบประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินรายด้าน อยู่ระหว่าง 0.54 ถึง 0.86 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง0.34 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 ถึง 0.88และ (4) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนด้านคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 โปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับดีมาก2. ป ร ะ สิท ธิผ ล ข อ ง โ ป ร แ ก ร ม ซ่อ ม เ ส ริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ด้าน (1)ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้หลังการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดีมาก และ (2) การรับรู้ความสามารถของตนด้านคณิตศาสตร์ของเด็กที่ทีปัญหาทางการเรียนรู้ หลังการจัดกิจกรรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โปร่งสันเทียะ อ. (2009). การพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(3). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/472
Section
บทความวิจัย (Research Articles)