ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษากับเทคโนโลยีสารสนเทศ
Main Article Content
Abstract
บทบาทสมมติ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนอย่างหนึ่งที่ช่วยสะท้อนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ที่อยู่ภายในของผู้เรียนออกมา ทำให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา และนำมาซึ่งการศึกษาทำความเข้าใจกันได้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดการเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่ผู้เรียนสวมบทบาทของผู้อื่น ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน นำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตน ให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ของบทบาทสมมติสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาอยู่อย่างมากในหลายหัวข้อข้อเนื้อหาวิชา ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหาการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยกฎหมายที่ควรรู้ในชีวิตประจำวัน บุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบแสดงบทบาทสมมติมาช่วยสะท้อนความรู้ ความคิดพฤติกรรมการแสดงออกในตัวผู้เรียนผ่านเนื้อหาบทเรียนที่นำมาจัดแสดงเป็นบทบาทสมติได้เป็นอย่างดียิ่ง เราจึงไม่ควรมองข้ามคุณสมบัติและความสำคัญของการสอนด้วยวิธีการนี้ไปได้เลยแม้ว่าปัจจุบันเราจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่ก้าวไกลไปเพียงใดก็ตาม เพราะเรายังเชื่อมั่นว่าการเรียนการสอนด้วยรูปแบบที่มีมาแล้วแต่ดั้งเดิมอย่างเช่นบทบาทสมมตินี้ ก็ยังคงนำพาให้ผู้สอนให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการสอนที่ดีมีประสิทธิผลได้
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
โศภีรักข์ ร. ด. (2009). ความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษากับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(3). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/456
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)