ผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำจากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกิตติคุณ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง
หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่มีคุณภาพ
จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน
ทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
มาตราตัวสะกด จากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการจำ
เรื่อง มาตราตัวสะกด จากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / 1 ภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนกิตติคุณ ซึ่งใช้เทคนิคการ
สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยการสุ่มมา
1 ห้องเรียน ซึ่งจัดห้องเรียนแบบคละกันจับสลากออกมาเป็น
กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 39 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. หนังสือการ์ตูน
อิเล็กทรอนิกส์ 2. แบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือ
สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. แบบทดสอบวัดความคงทน
ในการจำ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของหนังสือการ์ตูน
อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่
ในระดับดี 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนน
ทดสอบก่อนเรียน จากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง
มาตราตัวสะกด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 และ 3) คะแนนความคงทนในการจำ ที่เรียนจาก
หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สูงกว่า
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดที่มีคุณภาพ
จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนน
ทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
มาตราตัวสะกด จากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการจำ
เรื่อง มาตราตัวสะกด จากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 / 1 ภาค
เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนกิตติคุณ ซึ่งใช้เทคนิคการ
สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยการสุ่มมา
1 ห้องเรียน ซึ่งจัดห้องเรียนแบบคละกันจับสลากออกมาเป็น
กลุ่มตัวอย่าง 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 39 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. หนังสือการ์ตูน
อิเล็กทรอนิกส์ 2. แบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือ
สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 3. แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. แบบทดสอบวัดความคงทน
ในการจำ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของหนังสือการ์ตูน
อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่
ในระดับดี 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าคะแนน
ทดสอบก่อนเรียน จากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง
มาตราตัวสะกด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 และ 3) คะแนนความคงทนในการจำ ที่เรียนจาก
หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกด สูงกว่า
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
มะโนธรรม ป., & ประเสริฐสรวย ร. (2009). ผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำจากหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกิตติคุณ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/446
Section
บทความวิจัย (Research Articles)