การศึกษาความเครียดและการลดความเครียดในการใช้ชีวิตภายในเรือนจำของผู้ต้องขังโดยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเครียด
และการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยยึดหลัก
อริยสัจ 4 เพื่อลดความเครียดในการใช้ชีวิตภายในเรือนของ
ผู้ต้องขัง ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ต้องขังชาย คดียาเสพติด
จำนวน 150 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากประชากรที่มีคะแนน
ความเครียดตั้งแต่ระดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป จำนวน 18
คน และมีความสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมแล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อ
แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเครียดในการใช้ชีวิต
ภายในเรือนจำของผู้ต้องขังและโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบ
กลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
สถิติพื้นฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ต้องขังมีความเครียดในการใช้ชีวิตไม่
แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามอายุ สถานภาพสมรสและ
กำหนดโทษ
2. ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษา
แบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 มีความเครียดในการใช้ชีวิต
ภายในเรือนจำลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษา
แบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 มีความเครียดในการใช้ชีวิต
ภายในเรือนลดลงมากกว่าผู้ต้องขังที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
และการใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยยึดหลัก
อริยสัจ 4 เพื่อลดความเครียดในการใช้ชีวิตภายในเรือนของ
ผู้ต้องขัง ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ต้องขังชาย คดียาเสพติด
จำนวน 150 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกจากประชากรที่มีคะแนน
ความเครียดตั้งแต่ระดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไป จำนวน 18
คน และมีความสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมแล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อ
แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 9 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเครียดในการใช้ชีวิต
ภายในเรือนจำของผู้ต้องขังและโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบ
กลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
สถิติพื้นฐาน t-test และ F-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ต้องขังมีความเครียดในการใช้ชีวิตไม่
แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามอายุ สถานภาพสมรสและ
กำหนดโทษ
2. ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษา
แบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 มีความเครียดในการใช้ชีวิต
ภายในเรือนจำลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษา
แบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 มีความเครียดในการใช้ชีวิต
ภายในเรือนลดลงมากกว่าผู้ต้องขังที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
หลินภู พ., อรรถศิริ อ. อ., & อ่อนโคกสูง ร. ช. (2009). การศึกษาความเครียดและการลดความเครียดในการใช้ชีวิตภายในเรือนจำของผู้ต้องขังโดยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/445
Section
บทความวิจัย (Research Articles)