การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบSPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ภัทรดรา พันธุ์สีดา
อาจารย์ ดร. พัฒนา ชัชพงศ์
อาจารย์ ดร. สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
ว่าที่ร้อยตรี อาจารย์ ดร. มนัส บุญประกอบ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ทดสอบ
ประสิทธิภาพ และเผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอนแบบ
SPARPS ในการเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ 6 ขั้น ดังนี้
ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
SPARPS ขั้นที่ 1 สังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบ
SPARPS จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS ประกอบด้วยขั้นการ
เรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นกระตุ้นเร้า (Stimulus : S) ขั้น
วางแผน (Plan : P) ขั้นเรียนรู้ (Active Learning : A) ขั้นซ้ำย้ำ
ทวน (Repeat : R) ขั้นนำเสนอ (Presentation : P) และขั้น
แบ่งปัน (Share Ideas : S) ขั้นที่ 2 ประเมินรูปแบบการเรียน
การสอนแบบ SPARPS โดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS ตามความคิดเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มี
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00-4.60 ขั้นที่ 3 สร้างเครื่องมือประกอบการ
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS คือแผนการจัด
ประสบการณ์ แบบสังเกตทักษะทางภาษา และแบบทดสอบ
วัดทักษะทางภาษา และขั้นที่ 4 ทดลองนำร่องรูปแบบการ
เรียนการสอนแบบ SPARPS โดยทดลองสอนกับเด็กปฐมวัย
ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 27 คน เป็นเวลา 1 สัปดาห์
ระยะที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการ
เรียนการสอนแบบ SPARPS ขั้นที่ 5 ทดลองใช้รูปแบบการ
เรียนการสอนแบบ SPARPS เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดย
กำ หนดแบบแผนการทดลองเป็นแบบ Randomized
Control-Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็น
เด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลวัดนาง
นอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร
เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 ที่ได้จากการสุ่มแบบ
แบ่งกลุ่มจากประชากร เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 1 ห้องเรียน
และกลุ่มควบคุม จำนวน 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test for dependent
samples และ independent samples ผลการทดสอบ
ประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS ดังนี้
1) เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอน
แบบ SPARPS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งด้าน
การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และโดยรวมทั้ง 4 ด้าน 2)
เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาด้านการฟังเพิ่มขึ้นหลังจาก
ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการ
เรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด
ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS และเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการ
เรียนการสอนแบบปกติมีทักษะทางภาษาก่อนการทดลอง
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านการฟัง การ
พูด การอ่าน การเขียน และโดยรวมทั้ง 4 ด้าน 4) เด็ก
ปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของ
รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS มีทักษะทางภาษา
หลังการทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอน
แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งด้านการ
ฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และโดยรวมทั้ง 4 ด้าน
ระยะที่ 3 การเผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอน
แบบ SPARPS ขั้นที่ 6 เผยแพร่รูปแบบการเรียนการสอนแบบ
SPARPS โดยครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของ
เด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี 4-5 ปี และ 5-6 ปี จำนวน
6 คน ชั้นเรียนละ 2 คน โรงเรียนวัดหนัง สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี
การศึกษา 2550 ที่สมัครใจนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
SPARPS ไปทดลองใช้ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผลการเผยแพร่
รูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS ตามความคิดเห็น
ของครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัย
ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึง
มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-5.00 และความคิดเห็นของ
ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มี
อายุระหว่าง 3-4 ปี และ 5-6 ปี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ
มาก มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-4.00

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พันธุ์สีดา ภ., ชัชพงศ์ อ. ด. พ., ขจรรุ่งศิลป์ อ. ด. ส., & บุญประกอบ ว. อ. ด. ม. (2009). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบSPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/440
Section
บทความวิจัย (Research Articles)