การพัฒนาชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหาร THE DEVELOPMENT OF ENGLISH TRAINING MODULES FOR FOOD AND CATERING SERVICES

Main Article Content

วีรชัย อำพรไพบูลย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาชุดฝึกทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหารให้บรรลุประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ผ่านการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพฯ จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2  การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหาร ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียน ได้แก่ การต้อนรับ การรับคำสั่งอาหารและเครื่องดื่ม การเสิร์ฟและการให้บริการ และการเรียกชำระเงิน  โดยได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 69.69/70.42  ซึ่งสามารถยอมรับได้ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 70/70  2) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะในระดับ มาก (M = 4.50 และ SD = 0.64)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อำพรไพบูลย์ ว. (2024). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหาร: THE DEVELOPMENT OF ENGLISH TRAINING MODULES FOR FOOD AND CATERING SERVICES. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 155–172. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16056
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เฉลิม มลิลา นิติเขตต์ปรีชา. (2559). เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิชา บุญนาค. (2562). งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1). 6-20.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2554). ระบบสื่อการสอนสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชา สื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หน่วยที่ 2 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์. (2560). การประเมินนวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษา ในเอกสารการสอนชุดวิชา นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธยาน์ เพ็งสุวรรณ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจร่วมกับแผนที่ความคิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงพร ทรงวิศวะ. (2560). การจัดบริการอาหารในร้านอาหารและภัตตาคาร. ในเอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการห้องพักและการจัดการอาหารและเครื่องดื่ม. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัศนีย์ ธราพร. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรมโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นลิน สีมะเสถียรโสภณ และบวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 7(2). 57-73.

นีรนุช ศรีสวย. (2561). ผลของการใช้ชุดฝึกอบรมแบบเน้นการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรมของพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 18(1). 180-190.

บุญพา คำวิเศษ. (2560). ความพร้อมด้านการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับในโรงแรมและที่พักในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3(3). 25-35.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณพร คงแท่น อัญชนา ทองกระจาย และ Huanhuan Ma. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนกลางสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

มนสิทธิ์ สิทธิสมบูรณ์. (2563). ศาสตร์การวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รณวีร์ พาผล. (2561). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในพื้นที่น้ำพุร้อน ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วารุณี เตชะ. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการสอนแบบปกติ. ใน วิภาส ทองสุทธิ์ (บ.ก.), นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและสังคมในยุคดิจิตอล. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา.

วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง “การออกแบบระบบการผลิตและการใช้สื่อการสอนสำหรับครู” ทุนวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย เจริญธรรมานนท์. (2555). การจัดการภัตตาคาร. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการห้องพักและการจัดการอาหารและเครื่องดื่ม. หน่วยที่ 5 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สินีนาฏ มีศร. (2559) การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอรรถฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาพร ตาตะ. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565, 25 ตุลาคม). มูลค่าธุรกิจร้านอาหารขยายตัวในปี 2565-2566 ท่ามกลางโจทย์ท้าทายด้านต้นทุนและการรักษากำไรของผู้ประกอบการ. https://www.kasikornresearch.com/th/ analysis/kecon/ business.aspx

เอกพงศ์ ธนพิบูลย์พงศ์. (2555). การจัดการระบบปฏิบัติงาน งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม. ในเอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการห้องพักและการจัดการอาหารและเครื่องดื่ม. หน่วยที่ 8 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โอษฐ์สุมา ชุมพงศ์ และสุภาพร เจริญสุข. (2564). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการฝึกอบรมภาษาอังกฤษของมัคคุเทศก์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทางทะเลในยุคดิจิทัล อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง.

Belcher, Diane D. (2006). English for Specific Purposes: Teaching to Perceived Needs and Imagined Futures in Worlds of Work, Study, and Everyday Life. TESOL Quarterly. 40(1).

Dudley-Evans & St. John Maggie. (1998). Developments in English for specific purposes: A multi-disciplinary approach. London: Cambridge University Press.

Ghorbani, M.R. (2011). Quantification and graphic representation of EFL textbook evaluation results. London: Bloomsbury Publishing Plc.

Hutchinson, T. & Waters, A. (1987). English for specific purposes. London: Cambridge University Press.

McGriff, S.J. (2008). ADDIE model diagram. Wikieducator e-learning educational resources. http://wikieducator.org/ File-ADDIE-model-diagram by McGriff.gif

Rodgers, R. & Rodgers, T.S. (2001). Approaches and methods in language teaching. (2nd ed.) Cambridge: Cambridge University Press.