รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร THE DEMOCRATIC LEADERSHIP DEVELOPMENT MODEL OF SECONDARY SCHOOL LEADERS IN BANGKOK

Main Article Content

ธีรวัฒน์ เลื่อนฤทธิ์
โกศล มีคุณ
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี
ธารินทร์ รสานนท์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ กลุ่มที่สมควรพัฒนาก่อน ปัจจัยส่งเสริม และรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมต้นแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การวิจัยมีสองระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสัมพันธ์เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในกรุงเทพฯ จำนวน 344 คน สุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดจำนวน 10 แบบวัด มีค่าความเที่ยง (α) .78 - .91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Stepwise Multiple Regression Analysis, t-test (independent), 1-Way ANOVA และ Path Analysis ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีทั้งที่เป็นผู้นำนักเรียนและไม่ใช่ผู้นำนักเรียนกลุ่มละ 32 คน ที่เป็นผู้สมัครใจจากโรงเรียนที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย 2 แห่ง จัดเข้ากลุ่มด้วยวิธี Random Assignment การสอบวัดมี 3 ระยะ คือ ก่อนทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และสองสัปดาห์หลังสิ้นสุดการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test (independent), 2-Way ANOVA การวิจัยพบผลสำคัญสี่ประการ คือ 
ประการที่ 1 กลุ่มตัวแปรด้านจิตลักษณะสามารถอธิบายจิตประชาธิปไตยและพฤติกรรมประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 46.00 และ 43.00 เมื่อเพิ่มกลุ่มตัวแปรด้านสถานการณ์ทางสังคม สามารถอธิบายได้มากกว่าถึงร้อยละ 5 และ 11 ตามลำดับ ประการที่ 2 กลุ่มนักเรียนที่สมควรได้รับการพัฒนาก่อนมี 6 กลุ่ม คือ เพศชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำที่มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป อยู่ในสังกัด สพม.กท 1 มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 และอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่ โดยแต่ละกลุ่มมีปัจจัยส่งเสริมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยทั้งจิตประชาธิปไตยและพฤติกรรมประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ประการที่ 3 รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายความแปรปรวนของภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยได้ร้อยละ 92.00 และประการที่ 4 นักเรียนที่ได้รับการฝึกด้วยโปรแกรมต้นแบบมีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก และพบว่าเมื่อวัดหลังการฝึกทันที และเมื่อผ่านไปสองสัปดาห์ ผลดังกล่าวยังคงอยู่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เลื่อนฤทธิ์ ธ. ., มีคุณ โ. ., นิรัญทวี ศ. ., & รสานนท์ ธ. . (2024). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้นำนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร: THE DEMOCRATIC LEADERSHIP DEVELOPMENT MODEL OF SECONDARY SCHOOL LEADERS IN BANGKOK . วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 131–147. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15720
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรทิพย์ รัตนภุมมะ. (2565). การบริหารรูปแบบการพัฒนาความเอื้ออาทรและความสมานฉันท์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

จิราพร เซ็นหอม. (2562). รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างการพึ่งตนเองของนักศึกษาการศึกษานอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

จุฑารัตน์ วิบูลผล, ชาตรี ฝ่ายคำตา, นิภาพร กุลสมบูรณ์ และปรินทร์จิระภัทรศิลป. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในต่างประเทศที่จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหารการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ณัฐพล แย้มสะอาด. (2551). การศึกษาตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2550). รูปแบบทฤษฎีปฎิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) และแนวทางการตั้งสมมติฐาน ในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 9(1), 85-117.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2553). ผลสําเร็จของการพัฒนาครูคณิตศาสตร์ ด้วยการฝึกจิตลักษณะ และทักษะแบบบูรณาการ: หลักฐานจากงานวิจัยสองขั้นตอน. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย. 7(1), 66-109.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาแบบวัดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบวัดทั่วไปและแบบวัดเฉพาะกิจและการประเมินคุณภาพจากการใช้. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบพฤติกรรมไทย, 11(1-2), 121-189.

นิศากร สนามเขต. (2550). การมีภูมิคุ้มกันภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกบพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นีออน พิณประดิษฐ์. (2557). การวิจัยระบบดัชนีความไว้วางใจสังคมอย่างฉลาดของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

พิพัฒน์ ศรไพบูลย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาการทำงานอย่างอุทิศตนของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

ฤกษ์ชัย คุณูปการ. (2553). การวิจัยทางจิตพฤติกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาพฤติกรรม ประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารจิตพฤติกรรมศาสตร์: ระบบ พฤติกรรมไทย. 7(1). 110-157.

ลำใย มากเจริญ. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมและความสุขที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วสพร บุญสุข. (2565). การบริหารรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะด้านความรับผิดชอบและความเคารพนับถือของนักเรียนอาชีวศึกษาทวิภาคีโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

วิโรจน์ อารีย์กุล. (2553). การดูแลสุขภาพและการให้คำแนะนำวัยรุ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และภาควิชาเวชศาสตร์ทหารและชุมชน วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.

ศิริพร ดวงศรี, วันทนา อมตาริยกุล และพงษ์นิมิต พงษ์ภิญโญ. (2562). การพัฒนาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดร เขต 3. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 192-200.

สรายุทธ วรเวก. (2563). รูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

สวัสดิ์ ประทุมราช. (2554). การให้การศึกษาเพื่อสร้างอัตลักษณ์ แปลจาก Educating for Character: How Our Schools Can Teach Respect and Responsibility By THOMAS LICKONA (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ประชาอุทิศพิมพ์.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สิริพร บุญพา. (2562). รูปแบบการบริหารการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพอเพียง ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

สุภาสินี นุ่มเนียม. (2546). ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ภาคนิพนธ์ ศศ.ม., สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อิสริยา ปรมัตถากร. (2556). การพัฒนาความรู้และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Erdfelder, E., Buchner A. and Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using g*power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(1), 1149-1160.

Good, C. V. (1973). Dictionary of Education (1 ed.). New York: Mc Graw Hill Book, Co, Inc.