การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแผนรับมืออากาศยานประสบอุบัติเหตุในเขตสนามบินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่เน้นการใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน THE DEVELOPMENT OF TRAINING CURRICULUM FOR CABIN CREW IN AIRCRAFT ACCIDENT ON AIRPORT RESPONSES PLAN USING SCENARIO-BASED INTEGRATED LEARNING

Main Article Content

ธวรรธ์กร เชน
ผุสดี กลิ่นเกษร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแผนรับมืออากาศยานประสบอุบัติเหตุในเขตสนามบินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่เน้นการใช้สถานการณ์เป็นฐานสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 2. พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฯ และ 3. ศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความพึงพอใจของหลักสูตรฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฯ แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบประเมินระหว่างเรียน แบบประเมินทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยทดสอบก่อนเรียน ฝึกอบรม ประเมินระหว่างเรียน ทดสอบหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการพัฒนาหลักสูตรฯ เสนอให้มีการเพิ่มเติมประเด็นในการฝึกอบรมและกำหนดสถานการณ์ที่หลากหลาย 2. ผลการพัฒนาหลักสูตรฯ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวัง 2) การกำหนดหลักการของหลักสูตรฯ 3) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรฯ 4) การกำหนดบทบาทผู้สอนและผู้เข้าอบรม 5) การกำหนดการวัดประเมินผล และ 6) การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรฯ 3. ผลการศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความพึงพอใจ พบว่า หลักสูตรฯ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 82.44/96.67 ประสิทธิผลของหลักสูตรฯ เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้วพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีความรู้ในการรับมือเหตุฉุกเฉินสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขนาดอิทธิพลในระดับมาก (d = 5.65) มีทักษะในการรับมือเหตุฉุกเฉินสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เชน ธ. ., & กลิ่นเกษร ผ. . (2024). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมแผนรับมืออากาศยานประสบอุบัติเหตุในเขตสนามบินด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานที่เน้นการใช้สถานการณ์เป็นฐาน สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน: THE DEVELOPMENT OF TRAINING CURRICULUM FOR CABIN CREW IN AIRCRAFT ACCIDENT ON AIRPORT RESPONSES PLAN USING SCENARIO-BASED INTEGRATED LEARNING. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 16–31. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15573
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กีรติกร บุญส่ง; และหทัยกานต์ กุลวชิราวรรณ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ

พนักงานปฏิบัติการระดับ 4 กลุ่มวิชาชีพหลัก กลุ่มวิชาชีพสนับสนุนในการขับเคลื่อนองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO). วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 125-137.

จิรันธนิน ภูพนาแสง. (2565). Thai AirAsia ชี้ธุรกิจการบินเริ่มฟื้น ลุยเพิ่มเส้นทางใหม่รับดีมานด์ มั่นใจปี 23 ทำกำไรได้ หลังคุมต้นทุน-ขึ้นราคาตั๋วเสริมสภาพคล่อง. สืบค้นจาก https://thestandard.co/thai-airasia-aviation-business-recover/

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-20.

ธัชชนิกา เสนะวงษ์; วราภรณ์ เต็มแก้ว; และธัญญรัตน์ คำเพราะ. (2565). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในเขตการบิน ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 16-30.

แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 2(2), 67-79.

รณิดา นนท์ชยากร; สารีพันธุ์ ศุภวรรณ; และชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารบนเครื่องบินสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน). วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(2), 150-159.

รุจน์ ฦาชา. (2563). การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นสังคมเป็นศูนย์กลางร่วมกับการอภิปรายไตร่ตรองเพื่อ

เสริมสร้างสมรรถนะพลเมืองยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2564). Air Operator Certificate Requirements

(AOCR). กรุงเทพฯ: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย

พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

Davy, T.K. (2022). Online aviation learning experience during the COVID-19 pandemic

in Hong Kong and Mainland China. British Journal of Educational Technology, 53(3), 437-474.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 1149-1160.

IATA. (2022). Emergency Response Planning. Retrieved from https://www.iata.org/en/programs/safety/emergency-response-planning/

ICAO. (2016). Annex 19-Safety Management. Retrieved from https://www.icao.int/safety/safetymanagement/pages/sarps.aspx

Kolander, C.K. (2019). Flight and cabin crew teamwork: Improving safety in aviation. Editor(s): Barbara, G.K., José, A., Thomas, R.C., Crew Resource Management, USA: Academic Press.

PSBR. (2022). Aviation and plane crash statistics. Retrieved from https://www.psbr.law/aviation_accident_statistics.html

Remawi, H., Bates, P., & Dix, I. (2011). The relationship between the implementations of a Safety Management System and the attitudes of employees towards unsafe acts in aviation. Safety Science, 49(5), 625-632.

Summers, M.M. (2007). Scenario-based training in technically advanced aircraft as a method to improve risk management. Florida: Embry-Riddle Aeronautical University.