การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ DEVELOPMENT OF TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT MODEL TO PROMOTE PROJECT –BASED CREATIUVITY AND DESIGN THINKING PROCESS

Main Article Content

จักรพงศ์ กันกล่ำ
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับการสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่เรียนวิชาออกแบบ 2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการสอน ด้วยวิธีการสอนตามแนวการสอนแบบโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 คน ที่เรียนวิชาออกแบบ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยมีความสามารถพิเศษทางศิลปะและภาษาจีน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ แบบทดสอบทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ และแบบสังเกตการทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละและสถิติ t-test ร่วมกับการบรรยายผลงานเชิงคุณภาพ  ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบมีผลต่อการพัฒนาทักษะทางความคิดสร้างสรรค์มีคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในระดับ 0.67-1 ซึ่งมีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้สอนได้  2.ทักษะทางความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวการสอนโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กันกล่ำ จ., & แพทย์หลักฟ้า จ. . (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบโครงงานและกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: DEVELOPMENT OF TEACHING AND LEARNING MANAGEMENT MODEL TO PROMOTE PROJECT –BASED CREATIUVITY AND DESIGN THINKING PROCESS. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 84–98. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15505
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ขวัญสกุล อุปพันธ์(2564) การพัฒนาความคิดสร้าวงสรรค์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่2): จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2548). แนวการออกแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์ในประมวลองค์ความรู้และงานวิจัยหลักสูตรและการเรียนรู้. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปราชญ์ รัตนานันท์. (2553). คิดโครงงานสังคมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่2): เป็นภาษาและศิลป์.

ปาริชาติ บัวเจริญ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา เชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562).

ผุสดี กุฏอินทร์ (2526)เด็กกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์,ในเอกสารสอนชุดวิชาพฤติกรรมวัยเด็ก. นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่2): จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพร กงแก้ว,ศิริพงษ์ เพียศิริ(2563) ศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่5. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่21.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัฒนา มังคสมัน. (2551). การสอนแบบโครงงาน (พิมพ์ครั้งที่2): จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่21: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

อังคณา ตุงคะสมิต. (2559). สังคมศึกษาในโลกอาเซียนSocial studies in ASEAN community: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรณิชา ทศตา,กชพร ใจอดทน(2563) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยนครราชสีมา.วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย(สสอท). ). ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม – ธันวาคม 2563.