การศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book A STUDY ON THE UNDERSTANDING OF SYMBOLS IN DAILY LIFE OF GRADE 3 STUDENTS WITH MODERATE INTELLECTUAL DISABILITIES BY USING DIRECT INSTRUCTION WITH BIG BOOK

Main Article Content

ณัฎฐนิชา ทับสว่าง
กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์
จีรพัฒน์ ศิริรักษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย  1)เพื่อศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book  2)เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book ก่อนการทดลองและหลังการทดลองกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลางและไม่มีความพิการซ้อนจำนวน 4 คนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล จังหวัดสุพรรณบุรี  มีระดับเชาว์ปัญญา 35-49  สามารถสื่อสารได้ด้วยท่าทาง  หรือการพูดโต้ตอบ ตอบคำถามจากแบบทดสอบได้ถูกต้องน้อยกว่า 5 ข้อ    เป็นนักเรียนที่ไม่เข้าใจ ภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ภาพสัญลักษณ์ห้องน้ำชาย-หญิง  ภาพสัญลักษณ์ทางหนีไฟ   ภาพสัญลักษณ์จุดรวมพล  ภาพสัญลักษณ์ห้องปฐมพยาบาล ภาพสัญลักษณ์ทางม้าลาย  ภาพสัญลักษณ์สัญญาณไฟจราจร   แบบแผนวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1)แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book จำนวน 6 แผน  2)หนังสือเล่มใหญ่ Big Book จำนวน 6 เล่ม ได้แก่ สัญลักษณ์ห้องน้ำเป็นแบบนี้เอง  จุดรวมพลอยู่ตรงนี้นะ ห้องพยาบาลอยู่ไหน ทางหนีไฟอยู่ไหนนะ ข้ามถนนต้องข้ามทางม้าลาย สัญญาณไฟจราจรตั้งอยู่ที่ทางแยกบนถนน  3) แบบทดสอบความเข้าใจก่อน-หลังเรียนเรื่องภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  จำนวน 1 ชุด  ผู้วิจัยได้ทดลองจัดการเรียนรู้ตามแผนการสอนเป็นเวลา 6 สัปดาห์  ระยะเวลาที่ใช้การสอนตรงรวมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book สอนสัปดาห์ละ 1 เรื่อง  เรื่องละ 5 วัน วันละ 50 นาที รวมทั้งหมด 6 เรื่อง 6 สัปดาห์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและร้อยละความก้าวหน้าของคะแนนเฉลี่ย  ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  จากการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book อยู่ในระดับดีมาก   2)นักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน  สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือเล่มใหญ่ Big Book คะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 65

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทับสว่าง ณ., วิบูลพัฒนะวงศ์ ก. ., & ศิริรักษ์ จ. (2024). การศึกษาความเข้าใจภาพสัญลักษณ์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนที่มีบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนตรงร่วมกับหนังสือภาพ Big Book: A STUDY ON THE UNDERSTANDING OF SYMBOLS IN DAILY LIFE OF GRADE 3 STUDENTS WITH MODERATE INTELLECTUAL DISABILITIES BY USING DIRECT INSTRUCTION WITH BIG BOOK. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 1–15. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15442
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การเลี้ยงดูก่อนวัยเรียน 3-5 ปี. กรุงเทพฯ: โชติสุขการพิมพ์.

ธมลวรรณ ใจไหว. (2561). การพัฒนาทักษะการประกอบอาหารของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับปานกลาง โดยใช้การสอนตรงร่วมกับการวิเคราะห์งาน. (ปริญญานิพนธ์ ก.ศม. (การศึกษาพิเศษ)). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

บุษบา สงวนชาติ. (2547). การพัฒนาความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือนิทานเล่มใหญ่ โรงเรียนอนุบาลท่าตะโก เขตพื้นที่การศึกษา เขต3 จังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ประพิมพ์พงศ์ พละพงศ์. (2544). การศึกษาการเข้าใจความหมายจากภาพสัญลักษณ์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนโดยใช้ชุดการสอนการ สื่อความหมายภาพสัญลักษณ์. (ปริญญานิพนธ์ ก.ศม. (การศึกษาพิเศษ)). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ประภาพันธ์ นิลอรุณ. (2530). ความพร้อมทางการเรียนภาษาไทยของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นที่มีปัญหาทางภาษาโดยใช้วิธีสอนมุ่งประสบการณ์ทางภาษา. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ

พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2542). การเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับเด็กปกติ [เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากับเด็กปกติ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรี เจริญสุข. (2545). การศึกษานิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วีระเดช เชื้อนาม. (2545). การจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ หนังสือ 19 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

หทัยทิพย์ หนูมงกุฎ. (2015). การสอนตรงร่วมกับสื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มความสามารถรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของเด็กออทิสติก. Veridian e-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2 (พฤษภาคม-สิงหาคม)), 2701-2712.

อ้อมใจ วนาศิริ. (2556). การใช้หนังสือนิทานเล่มใหญ่เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและพูดของเด็กปฐมวัย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่. สืบค้นจาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/125

อารี สุทธิพันธ์. (2521). การออกแบบ [ เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปศึกษา ]. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Marchand-Martella, N. E., Slocum, T. A., และ Martella, R. C. (2004). Introduction to Direct Instruction. London: Pearson.

Nancy, E. M.-m., Diane, K., และ Richard, K. (2005). Special Education and Direct Instruction: An Effective Combination. Journal of Direct Instruction, Winter(2005), 1-36.

Worgan, S., และ Nursery, O. (2009). Creating and using an interactive big book in a nursery setting as a tool to develop reading skills. Retrieved from http://metapsychologymentalhelp.net/poc/view_doc.php?type=book&id=1645&cn=396#