แนวคิดการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีกับการบูรณาการวิชาต่างๆ โดยใช้เพลงภูเก็ตเป็นฐาน THE CONCEPT OF MUSIC LEARNING MANAGEMENT AND THE INTEGRATION OF VARIOUS SUBJECTS USING PHUKET SONGS AS A BASE

Main Article Content

ประโมทย์ พ่อค้า

Abstract

การศึกษาในปัจจุบัน เป็นการศึกษาที่เน้นการผสมผสานความรู้ เนื้อหาสาระต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการที่สัมพันธ์กัน ในบทความที่นำเสนอนี้ “ต้นทาง”ของเนื้อหา เริ่มต้นจาก “เพลง”  แล้วเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้สาระเนื้อหาในศาสตร์อื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งในลักษณะบูรณาการแบบองค์รวม (Holistic) แนวคิดกระบวนการในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับเพลงภูเก็ตนั้น ได้วางเป้าหมายต้องการให้ผู้ศึกษาได้นำสาระความรู้ในวิชาหรือศาสตร์ต่างๆที่ปรากฏในเพลงเชื่อมโยงกันภายใต้เรื่องเดียวกัน และใช้บทเพลงเป็นตัวกำหนดหัวข้อและเนื้อหาต่างๆ ทั้งนี้เริ่มต้นจาก 1. เลือกบทเพลงที่สนใจในการศึกษา 2. ศึกษาวิเคราะห์ตามศาสตร์ของดนตรี 3. ศึกษาวิเคราะห์ตามศาสตร์และความรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับมาตรการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาระการเรียนรู้นั้น ๆ  4. วิเคราะห์เนื้อหา เพื่อกำหนดกิจกรรม เช่นการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดกิจกรรม         การเรียนการสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชา เป็นการกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนศึกษาและปฏิบัติ และการประเมินผล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พ่อค้า ป. . . (2023). แนวคิดการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีกับการบูรณาการวิชาต่างๆ โดยใช้เพลงภูเก็ตเป็นฐาน: THE CONCEPT OF MUSIC LEARNING MANAGEMENT AND THE INTEGRATION OF VARIOUS SUBJECTS USING PHUKET SONGS AS A BASE . วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 139–162. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15260
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2554). ทรัพยากรการท่องเที่ยวไทย ชุดภาคใต้ ภูเก็ต. ฝ่ายส่งเสริมสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

กวี วรกวิน. (2547). แผนที่ความรู้ท้องถิ่นไทยภาคใต้. กรุงเทพฯ. บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

กุศล เอี่ยมอรุณ. (2535). หนังสือเพื่อความเข้าใจในแผ่นดินภูเก็ต . กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์สารคดี.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2545). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดภูเก็ต. กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย พิมพ์เผยแพร่.

ถนอม พูนวงศ์. (2556). ประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ต. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตร์.

ปาริชาต เรืองวิเศษ ในกุศล เอี่ยมอรุณ. (2535) บทความเรื่อง กว่าจะเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน หนังสือเพื่อความเข้าใจในแผ่นดินภูเก็ต . กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์สารคดี.

ฤดี ภูมิภูถาวร. (2550). ภูเก็ต. บริษัทภูเก็ตบูลเลทิน จำกัด.

สุดารา สุวฉายา (บรรณาธิการ). (2543). คฤหาสน์และตึกเก่า ภาพสะท้อนนานาอารยธรรมบนเกาะภูเก็ต. ภูเก็ต. สำนักพิมพ์สารคดี.

ฮันส์ เอทเลฟ คัมมัยเยอร์ และพรใจ ศิริรัตน์ ในกุศล เอี่ยมอรุณ. (2535). บทความเรื่อง ตึกเก่ากลางเมืองภูเก็ต. ภูเก็ต. สำนักพิมพ์สารคดี.