ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม A NEEDS ASSESSMENT OF DEVELOPING ACADEMIC MANAGEMENT OF ELEMENTARY SCHOOLS IN NETWORKS 62 OF TALING CHAN DISTRICT OFFICE BASED ON THE CONCEPT OF SOCIAL INTELLIGENCE

Main Article Content

ทิพย์สุดา คฤห์ดี
ธีรภัทร กุโลภาส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 88 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยการเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา โดยการเลือกแบบวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม ในภาพรวม คือ 0.545 (PNIModified = 0.545) เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNIModified= 0.550) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNIModified = 0.545)  และด้านการวัดประเมินผลมีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด  (PNIModified = 0.542) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม พบว่า การเข้าใจความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของผู้อื่น มีความต้องการจำเป็นสูงสุดทั้ง 3 ด้านของการบริหารวิชาการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คฤห์ดี ท., & กุโลภาส ธ. . (2023). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตตลิ่งชัน เครือข่ายที่ 62 ตามแนวคิดความฉลาดทางสังคม: A NEEDS ASSESSMENT OF DEVELOPING ACADEMIC MANAGEMENT OF ELEMENTARY SCHOOLS IN NETWORKS 62 OF TALING CHAN DISTRICT OFFICE BASED ON THE CONCEPT OF SOCIAL INTELLIGENCE. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(1), 1–14. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15174
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กาญจน์กมล สุวิทยารัตน์. (2557). การศึกษาและพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถานบันอุดมศึกษา ภาคใต้. สุทธิปริทัศน์, 28(86), 126-151.

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550, (16 พฤษภาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 24. 29-30.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2562). การศึกษาทางเลือก: รูปแบบการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับเจเนอเรชันแอลฟา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 8(3), 270-283.

เบญจวรรณ ช่อชู, และ พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2563). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(2), 162-174.

ภคพร เลิกนอก, และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2564). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(4), 1-13.

มนทิรา โกสุม, สานิต รัตตัญญู, โศภนา บุณยะกลัมพ, ยุพิน วรพุธานนท์, ดาลัด กุศลผลบุญ, ษราคัม ศรีจันทร์, และ วันทนา สนสายัณห์. (2554). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา.

ยอดแก้ว แก้วมหิงสา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ครุศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริญพร บุสหงษ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช พยาบาลศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). อุบลราชธานี: หจก.อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สำนักการศึกษา. (2564). โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ เมษายน 17, 2565, จาก https://sites.google.com/view/bkkeducation

สำนักการศึกษา. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564-2569). กรุงเทพฯ: สำนักการศึกษา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุปราณี ปรุงประเสริฐ. (2548). พัฒนาการด้านความสามารถในการเข้าใจทัศนะของผู้อื่นในเด็กไทยอายุ 4-15 ปี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2562). ให้ลูกร่วมทุกข์สุข เรียนวิชาผิดหวัง รับมือเด็กเจนอัลฟ่าด้วยพลังบวก. สืบค้นเมื่อ เมษายน 17, 2565, จาก https://sites.google.com/view/bkkeducation

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อริสา แก้วลี, และ เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2562). ความฉลาดทางสังคมของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(3), 27-34.

Albrecht, K. (2006). Social intelligence: The new science of success. San Francisco: Jossey-Bass.

Goleman, D. (2006). Social intelligence: The new Science of Human Relationships. New York: Bantam Dell.

Junaidi, F., Suwandi, S., & Saddhono, K. (2022). Improving Students’ Social Intelligence Using Folktales during the Covid19 Pandemic. International journal of instruction, 15(3), 209-228.

Junaidi, F., Suwandi, S., Saddhono, K., & Wardhani, N. E. (2021). The value of social intelligence in the textbooks for elementary school students. International Conference of Humanities and Social Science, 1(1), 60-68.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Morin, A. (2020). How to Increase Your Social Intelligence. Retrieved April 18, 2022, from https://www.verywellmind.com/what-is-social-intelligence-4163839

Naidu, N. (2019). Development of emotiomal intelligence and social intelligence for academic achievement and success in life in all aspects. Journal of Information and Computational Science, 9(10), 322-328.

Rahim, M. A. (2014). A structural equations model of leaders’ social intelligence and creative performance. creativity and innovation management, 23(1), 44-56.

Sadiku, N. O. M., Alam, S., & Musa, M. S. (2019). Social intelligence: A primer. International Journal of Research -GRANTHAALAYAH, 7(9), 213-217. doi: 10.5281/zenodo.3472995

Soffel, J. (2016). Ten 21st-century skills every student needs. Retrieved April 21, 2022, from https://www.weforum.org/agenda/2016/03/21st-century-skills-future-jobs-students/

UNESCO. (2021). Reimagining a new social our futures contract for together education. France: the United Nations Educational, Scientfic and Cultural Organization.

WHO. (1997). Life skills education for children and adolescents in school. Switzerland: World Health Organization.

Yusuf, N. R., Abdulkarim, A., & Kurniawati, Y. (2018). Utilization of “Bocah Pejuang” TV Show of Trans TV to Improve Social Intelligence in Student on Social Studies Learning. International jourmal pedagogy of social studies, 3(1), 1-7.