การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับผังกราฟิก และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับผังกราฟิก และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียนที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test Independent จากการวิจัยพบว่า นักเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับผังกราฟิกมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียน ( = 22.38, S.D. = 3.42) สูงกว่านักเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ ( = 17.05, S.D. = 3.73) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับผังกราฟิก, การจัดการเรียนรู้แบบปกติ ABSTRACT The objective of this research was to compare English reading comprehension achievement of Matthayomsuksa 4 students taught by task-based learning with graphic organizers and traditional learning. The sample size of the research was 2 rooms of Matthayomsuksa 4 students of the second semester of 2020 academic year. The allocation used cluster random sampling. Research methods were used as following 1) task-based learning with graphic organizers lesson plans for Matthayomsuksa 4 students and 2) the multiple-choice reading comprehension test consisting of 30 items. Data were analyzed by using mean, deviation, and t-test independent. The result showed that English reading comprehension achievement of students taught by task-based learning with graphic organizers ( = 22.38, S.D. = 3.42) were higher than students taught by traditional learning ( = 17.05, S.D. = 3.73) at the statistical significance .05. Keywords: English Reading Comprehension Achievement, Task-based Learning with Graphic Organizers, Traditional learning
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ศรีธรรม ศ., & เอื้อนครินทร์ ท. (2022). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับผังกราฟิก และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 152–166. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13459
Section
บทความวิจัย (Research Articles)