ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่มีต่อระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ 4) ประเมินรับรองระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ที่สมัครใจ จำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินและรับรองระบบฯ จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บริบท 2) ผู้ส่งสาร 3) เนื้อหาสาร 4) ช่องทางการสื่อสารสุขภาพ 5) ผู้รับสาร และ6) การประเมินผล 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน E1/E2 เท่ากับ 80.72 /82.5 3. ความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: ระบบการสื่อสารสุขภาพ, การสื่อสารแบบภควันตภาพ ABSTRACT This research’s objectives were (1) to develop the ubiquitous health communication system for village public health volunteers, (2) to validate the efficiency of the ubiquitous health communication system for village public health volunteers, (3) to study village public health volunteers’ satisfaction towards the ubiquitous health communication system, and (4) to assess and verify the ubiquitous health communication system by the experts. This study was a research and development. The samples group included: (1) 10 specialists (2) 30 the village public health volunteers in Chonburi province was obtained by multi-stage random sampling. and 3) 5 experts for assessment and verification. Major Findings; 1. A ubiquitous health communication system for village public health volunteers in Chonburi province consists of 6 components: 1) context, 2) source, 3) message, 4) channel or media, 5) receiver, and 6) evaluation.2. The development testing results of the activities package on a ubiquitous health communication system found that value E1/ E2 was 80.72/82.5 3. The satisfaction of village health public volunteers were highest level. 4. The assessment and verification experts were highest level. Keywords: A Ubiquitous Health Communication System, A Ubiquitous Health Communication
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
บุญเรือง ส., & บุญอำไพ ท. (2020). ระบบการสื่อสารสุขภาพแบบภควันตภาพ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13079
Section
บทความวิจัย (Research Articles)