การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3) เพื่อตรวจสอบ ยืนยันรูปแบบ นำรูปแบบไปทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ (2) สร้างและพัฒนารูปแบบด้วยการจัดกลุ่มสนทนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนและมีการประเมินรูปแบบ (3) ตรวจสอบการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.974 นำแบบสอบถาม จำนวน 398 ฉบับ ไปถามนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 398 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 279 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 70 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล (4) ยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน (5) บูรณาการรูปแบบและนำรูปแบบไปทดลองใช้กับนักศึกษา โดยมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง รวมทั้งมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบผลการวิจัยพบว่า 1. เนื้อหาของรูปแบบการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมเนื้อหาสาระสำคัญ8 ประการ ได้แก่ ด้านการเรียนรู้ทักษะวิชาหลักและประเด็นสำคัญด้านการเรียนรู้เชิงวิพากษ์วิจารณ์และนวัตกรรมด้านการเรียนรู้การดำเนินชีวิตและอาชีพด้านการเรียนรู้สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมด้านการเรียนรู้ทักษะการนำแนวปฏิบัติที่ดีสู่การปฏิบัติด้านการเรียนรู้ทักษะการประเมินตนเอง และด้านการเรียนรู้ทักษะการพัฒนาวิชาชีพ 2. รูปแบบที่สร้างและพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวคิดทฤษฎี (2) หลักการและเหตุผล (3) วัตถุประสงค์ (4) สาระสำคัญของรูปแบบครอบคลุมเนื้อหา 8 ประการ ดังกล่าว (5) แนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติและ (6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมหลังจัดกลุ่มสนทนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากหากพิจารณารายประเด็นพบว่าวัตถุประสงค์ของรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับแรกและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเป็นลำดับสุดท้าย ส่วนด้านสาระสำคัญของรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณารายด้านพบว่าด้านการเรียนรู้ทักษะการประเมินตนเองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเป็นลำดับแรก และด้านการเรียนรู้เชิงวิพากษ์วิจารณ์และนวัตกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเป็นลำดับสุดท้าย 3. ผลการตรวจสอบ ยืนยันรูปแบบและนำรูปแบบไปทดลองใช้ รวมทั้งมีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบ พบว่า 3.1 รูปแบบซึ่งมีการตรวจสอบโดยนำแบบสอบถามไปถามนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 279 คน พบว่า มีความเหมาะสม (Propriety) มีความเป็นไปได้ (Feasibility) และมีความเป็นประโยชน์ (Utility) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากหากพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่าเงื่อนไขการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากเป็นลำดับแรก และสาระสำคัญของรูปแบบด้านการเรียนรู้ทักษะวิชาหลักและประเด็นสำคัญ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก เป็นลำดับสุดท้าย 3.2 รูปแบบได้รับการยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเห็นด้วย ร้อยละ 100% 3.3 รูปแบบซึ่งได้นำไปทดลองใช้กับนักศึกษา จำนวน 27 คน พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.4 ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด หากพิจารณารายข้อพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นลำดับแรก 2 หัวข้อ คือ (1) การนำเสนอประวัติความเป็นมาและสาระสำคัญของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) ภาพรวมของการเรียนรู้โดยอาศัยรูปแบบการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและหัวข้อการนำเสนอหลักการและเหตุผลของรูปแบบการเรียนรู้โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นลำดับสุดท้าย คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนรู้, ศักยภาพนักศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
จิตต์จิรจรรย์ จ. (2019). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12357
Section
บทความวิจัย (Research Articles)